![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สํฆาตํ อาปชฺชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกฆ่า คือตาย. บทว่า นิจฺจทานํ ได้แก่ สลากภัต. บทว่า อนุกุลยญฺญํ ความว่า ยัญคือทานอันบุคคลพึงบูชาคือพึงให้ ด้วยอำนาจสืบทอดกันมาตามตระกูลอย่างนี้ เพราะพ่อปู่บรรพบุรุษของเราทั้งหลายให้กันมาแล้ว. ในบทว่า อสฺสเมธํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ยัญชื่อว่าอัสสเมธ เพราะในยัญนี้เขาฆ่าม้า คำนั้นเป็นชื่อของยัญที่จะอำนวยให้สมบัติทุกอย่างไม่เหลือ ยกเว้นแผ่นดินและคนทั้งหลาย ซึ่งมีหลักบูชา ๒๑ หลักที่พึงบูชาด้วยปริยัญสอง. ยัญชื่อว่าปุริสเมธ เพราะในยัญนี้เขาฆ่าคน คำนั้นเป็นชื่อของยัญที่จะอำนวยให้สมบัติที่กล่าวแล้ว ในอัสสเมธพร้อมด้วยแผ่นดินซึ่งพึงบูชาด้วยปริยัญสี่. ชื่อว่าสัมมาปาสะ เพราะในยัญนี้เขาโยนบ่วงแอกไป คำนั้นเป็นชื่อของยัญทั้งหมดที่เขาทำแท่นบูชาโยนบ่วง ตรงโอกาสที่บ่วงแอกนั้นตก แล้วเดินถอยกลับตั้งแต่โอกาสที่ดำลงในแม่น้ำสรัสวดี พึงบูชาด้วยหลักเป็นต้นที่ยกไปได้ทุกๆ วัน. ชื่อว่าวาชเปยยะ เพราะในบัดนี้ เขาดื่มวาชะ คำนั้นเป็นชื่อของยัญที่อำนวยให้สมบัติ ๑๗ หมวด ซึ่งมีหลักบูชาทำด้วยไม้มะตูมที่พึงบูชาด้วยสัตว์เลี้ยง ๑๗ ชนิดด้วยปริยัญหนึ่ง. ชื่อว่านิรัคคฬะ เพราะในยัญนี้ไม่มีลิ่มสลัก คำนั้นเป็นชื่อของยัญอันกำหนดไว้ในอัสสเมธ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าสรรพเมธ ซึ่งอำนวยให้สมบัติที่กล่าวแล้วในอัสสเมธพร้อมด้วยแผ่นดินและด้วยคนทั้งหลาย ที่พึงบูชาด้วยปริยัญเก้า. บทว่า มหารมฺภา ได้แก่ มีกิจมาก มีกรณียะมาก. อนึ่ง ชื่อว่ามีการริเริ่มใหญ่ ก็เพราะการริเริ่มด้วยปาณาติบาตมาก. ในบทว่า น เต โหนฺติ มหปฺผลา นี้ ท่านสรุปผลของยัญที่มีส่วนเหลือไว้ในความหมายว่าไม่มีส่วนเหลือ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ว่าด้วยผลที่น่าปรารถนาก็ไม่มีผลเลย. ก็ข้อนี้ ท่าน บทว่า หญฺญเร คือ ย่อมฆ่า. บทว่า ยชนฺติ อนุกุลํ สทา ความว่า ชนเหล่าใดย่อมบูชายัญตามตระกูล แม้พวกคนเหล่านั้นเกิดในภายหลังก็ยังบูชาตาม เพราะบรรพบุรุษทั้งหลายได้บูชากันมาแล้ว. บทว่า เสยฺโย โหติ แปลว่า ย่อมวิเศษแน่แท้. บทว่า น ปาปิโย ได้แก่ ไม่เลวทรามอะไรเลย. จบอรรถกถาอุชชยสูตรที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรคที่ ๔ ๙. อุชชยสูตร จบ. |