![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อภิสงฺขตํ คือ ทำให้เป็นกอง. บทว่า นิรารมฺภํ คือ เว้นความปรารภสัตว์. บทว่า ยญฺญํ คือ ไทยธรรม. จริงอยู่ ไทยธรรมนั้น เขาเรียกว่ายัญ เพราะเขาพึงบูชา. บทว่า กาเลน คือ ตามกาลอันควร คือเหมาะ. บทว่า อุปสํยนฺติ คือ ย่อมเข้าไปถึง. บทว่า กุลํ คตึ ความว่า ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งตระกูลในวัฏฏะ และคติในวัฏฏะ. บทว่า ปุญฺญสฺส โกวิทา ความว่า ความฉลาดในบุญที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า ยญฺเญ คือ ในทานตามปกติ. บทว่า สทฺเธ คือ ในทานอุทิศเพื่อผู้ตาย. บทว่า หุญฺญํ กตฺวา ความว่า จัดไทยธรรมให้เป็นของควรบูชา. บทว่า สุกฺเขตฺเต พฺรหฺมจาริสุ ความว่า ในเนื้อนาที่ดี กล่าวคือผู้ประพฤติ บทว่า สมฺปตฺตํ คือ ถึงดีแล้ว. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยสุ ยํ กตํ ความว่า ยัญที่สำเร็จในทักษิไณยบุคคลผู้สมควร เป็นอันบุคคลบูชาเซ่นสรวงถึงดีแล้ว. บทว่า สทฺโธ ความว่า ชื่อว่าผู้มีศรัทธา เพราะเชื่อในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ได้แก่ มีใจสละแล้ว. ท่านแสดงการบริจาคด้วยน้ำใจเสียสละด้วยบทนี้แล. จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ ๑๐ จบจักกวรรควรรณนาที่ ๔ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร ๓. สีหสูตร ๔. ปสาทสูตร ๕. วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร ๗. อปริหานิสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร ๙. อุชชยสูตร ๑๐. อุทายสูตร ฯ .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรคที่ ๔ ๑๐. อุทายสูตร จบ. |