บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า โย จ เนสํ ตตฺถ ตตฺถ ชานาติ อนุธมฺมตํ ความว่า ภิกษุใดรู้การกล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น ในฐานะนั้นๆ. บทว่า จตุปญฺหสฺส กุสโล อาหุ ภิกฺขุํ ตถาวิธํ ความว่า ท่านเรียกภิกษุผู้เช่นนั้นอย่างนี้ว่า ผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง ๔. บทว่า ทุราสโท ทุปฺปสโห ความว่า อันใครๆ ไม่อาจจะกระทบหรือข่มเอาได้. บทว่า คมฺภีโร ความว่า เป็นผู้ลึกซึ้ง เหมือนมหาสมุทรสีทันดร ๗ สมุทร. บทว่า ทุปฺปธํสิโย ได้แก่ ผู้ที่ใครๆ เปลื้องได้ยาก. อธิบายว่า ใครๆ ไม่อาจจะให้เขาปล่อยการยึดถือข้อที่เขาถือแล้วได้. บทว่า อตฺเถ อนตฺเถ จ ได้แก่ ในความเจริญและในความเสื่อม. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะรวมเอาความเจริญไว้ได้. บทว่า ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ความว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา เขาเรียกกันอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต ดังนี้. จบอรรถกถาปัญหาสูตรที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ โรหิตัสสวรรคที่ ๕ ๒. ปัญหาสูตร จบ. |