![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ยตฺถ ความว่า แผ่นดินในโอกาสแห่งหนึ่งของโลกในจักรวาล. บทว่า น จวติ น อุปปชฺชติ นี้ ทรงถือแล้วด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิสืบๆ กันไป. บทว่า คมเนน คือ ด้วยการใช้เท้าเดินไป. บทว่า โลกสฺส อนฺตํ ความว่า พระศาสดาตรัสหมายถึงที่สุดของสังขารโลก. ในบทว่า ญาเตยฺยํ เป็นต้น ความว่า อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง. ด้วยเหตุนั้น เทพบุตรทูลถามที่สุดของโลกในจักรวาล พระศาสดาก็ตรัสตอบที่สุดของสังขารโลก. ฝ่ายเทพบุตรนั้นร่าเริงในปัญหาว่า การกล่าวแก้ของพระศาสดาสมกับปัญหาของตน ดังนี้ จึงทูลว่า อจฺฉริยํ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ทฬฺหธมฺโม ได้แก่ ผู้สอนธนูไว้มั่น คือประกอบด้วยธนูมีขนาดเยี่ยม. บทว่า ธนุคฺคโห ได้แก่ อาจารย์ผู้ฝึกหัดธนู. บทว่า สุสิกฺขิโต คือ ผู้ได้ศึกษาธนูศิลป์มา ๑๒ ปี. บทว่า กตหตฺโถ ความว่า มีฝีมือชำนาญแล้ว โดยสามารถยิงปลายขนเนื้อทราย ในระยะประมาณอุสภะหนึ่งได้. บทว่า กตูปาสโน ได้แก่ ยิงธนูชำนาญได้แสดง (ประลอง) ศิลปธนูมาแล้ว. บทว่า อสเนน คือ ลูกธนู. บทว่า อติปาเตยฺย คือ ผ่านไป. เทพบุตรแสดงสมบัติ คือความเร็วของตนว่า เราจักผ่านจักรวาลหนึ่งไปเท่ากับลูกธนูนั้น ผ่านเงาตาลไป. บทว่าปุรตฺถิมา สมุทฺทา ปจฺฉิโม ความว่า เทวบุตรกล่าวว่า การย่างเท้าก้าวหนึ่งไปได้ในที่ไกล เหมือนสมุทรเบื้องตะวันตกไกลจากสมุทรเบื้องตะวันออกฉะนั้น. ได้ยินว่า ฤษีนั้นยืนอยู่ที่ขอบปากแห่งจักรวาลเบื้องตะวันออก เหยียดเท้าผ่านขอบปากแห่งจักรวาลเบื้องตะวันตก เหยียดเท้าที่สองไปอีก ก็ผ่านขอบปากจักรวาลอื่น. บทว่า อิจฺฉาคตํ แปลว่า ความปรารถนานั้นเอง. บทว่า อญฺญตฺเรว คือ ท่านแสดงความไม่ชักช้า. ได้ยินว่า ในเวลาภิกขาจาร ฤษีนั้นสีไม้ฟันนาคลดา ล้างหน้าในสระอโนดาต เมื่อได้เวลาก็เที่ยวบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป นั่งที่ขอบปากจักรวาล ทำภัตกิจ. หยุดพัก ณ ที่นั้นครู่หนึ่ง ก็โลดแล่นไปอีก. บทว่า วสฺสตายุโก ความว่า ยุคนั้นเป็นสมัยที่คนมีอายุยืน. ส่วนฤษีนี้เริ่มเดินเมื่ออายุเหลือ ๑๐๐ ปี. บทว่า วสฺสสตชีวี ความว่า เขามีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี โดยไม่มีอันตราย. บทว่า อนฺตราเยว กาลกโต ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกในจักรวาล ก็ตายเสียก่อนในระหว่าง. แต่เขาทำกาละในที่นั้นแล้ว จึงมาเกิดในจักรวาลนี้. บทว่า อปฺปตฺวา ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า ทุกฺขสฺส คือ วัฏฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริยํ คือ ทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร คือ ในอัตภาพ. บทว่า สสญฺญมฺหิ สมนเก คือ มีสัญญามีใจ. บทว่า โลกํ คือ ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทยํ คือ สมุทยสัจ. บทว่า โลกนิโรธํ คือ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปทํ คือ มรรคสัจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผู้มีอายุ เราย่อมไม่บัญญัติสัจจะ ๔ เหล่านี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น แต่เราย่อมบัญญัติลงในกายนี้ที่มีมหาภูต ๔ เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่ ผู้มีบาปสงบแล้ว. บทว่า นาสึสติ คือ ย่อมไม่ปรารถนา. จบอรรถกถาปฐมโรหิตัสสสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ โรหิตัสสวรรคที่ ๕ ๕. โรหิตัสสสูตรที่ ๑ จบ. |