![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สญฺญาวิปลฺลาสา ความว่า มีสัญญาความสำคัญคลาดเคลื่อน. อธิบายว่า มีสัญญา ๔ วิปริต ความสำคัญที่ตรงกันข้าม. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนิจฺเจ ภิกฺขเว นิจฺจนฺติ สญฺญาวิปลฺลาโส ความว่า เกิดความสำคัญ ยึดถืออย่างนี้ว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง ชื่อว่าสัญญาวิปัลลาส. บัณฑิตพึงทราบความในบททุกบท โดยนัยนี้. บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา ความว่า ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิหตา ความว่า สัตว์จะสำคัญอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ ยังถูกแม้มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่กำลัง เกิดขึ้นชักนำไปแล้ว เหมือนสัญญาวิปัลลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา ความว่า ผู้ประกอบด้วยจิตซัดส่ายที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนสัญญาวิปัลลาส บทว่า วิสญฺญิโน นั่นเป็นเพียงเทศนา. อธิบายว่า เป็นสัญญาจิตและทิฏฐิอันวิปริต. บทว่า เต โยคยุตฺยา มารสฺส ความว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าประกอบอยู่ในเครื่องผูกของมาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน ความว่า เป็นคนไม่ถึงความเกษมจากโยคะ ๔ คือพระนิพพาน. บทว่า สตฺตา คือ บุคคลทั้งหลาย. บทว่า พุทฺธา คือ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า อิมํ ธมฺมํ คือ สัจจธรรม ๔. บทว่า สจิตฺตํ ปจฺจลทฺธา ได้แก่ กลับได้ความคิดของตนเอง. บทว่า อนิจฺจโต ทุกฺขุ ํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงจริง. บทว่า อสุภตทฺทสํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่งามจริง. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา ได้แก่ ผู้ยึดถือสัมมาทัสสนะ. บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคุ ํ ความว่า ล่วงพ้นวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นได้. จบอรรถกถาวิปัลลาสสูตรที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ โรหิตัสสวรรคที่ ๕ ๙. วิปัลลาสสูตร จบ. |