ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 4อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 5อ่านอรรถกถา 21 / 6อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ภัณฑคามวรรคที่ ๑
๕. อนุโสตสูตร

               อรรถกถาอนุโสตสูตรที่ ๕               
               พึงทราบวินิจฉัยในอนุโสตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
               บุคคลชื่อว่า อนุโสตคามี เพราะไปตามกระแส. ชื่อว่าปฏิโสตคามี เพราะไปทวนกระแสของกระแสคือกิเลส โดยการปฏิบัติที่เป็นข้าศึก.
               บทว่า ฐิตตฺโต คือ มีภาวะตั้งต้นได้แล้ว.
               บทว่า ติณฺโณ ได้แก่ ข้ามโอฆะ ตั้งอยู่แล้ว.
               บทว่า ปารคโต ได้แก่ ถึงฝั่งอื่น.
               บทว่า ถเล ติฏฺฐติ ได้แก่ อยู่บนบก คือนิพพาน.
               บทว่า พฺราหฺมโณ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐ หาโทษมิได้.
               บทว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้.
               บทว่า กาเม จ ปฏิเสวติ ได้แก่ ซ่องเสพวัตถุกามด้วยกิเลสกาม.
               บทว่า ปาปญฺจ กมฺมํ กโรติ ได้แก่ ย่อมทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น อันมีบาป.
               บทว่า ปาปญฺจ กมฺมํ น กโรติ ได้แก่ ไม่ทำกรรมคือเวร ๕.
               บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ฐิตตฺโต ความว่า อนาคามีบุคคลนี้ ชื่อว่าตั้งตนได้แล้ว ด้วยอำนาจการไม่กลับมาจากโลกนั้น โดยถือปฏิสนธิอีก.
               บทว่า ตณฺหาธิปนฺนา ความว่า เหล่าชนที่ถูกตัณหางำ คือครอบไว้ หรือเข้าถึง คือหยั่งลงสู่ตัณหา.
               บทว่า ปริปุณฺณเสกฺโข ได้แก่ ตั้งอยู่ในความบริบูรณ์ด้วยสิกขา.
               บทว่า อปริหานธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่เสื่อมเป็นสภาวะ.
               บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญทางจิต.
               บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมเป็นพระขีณาสพ. แต่ในข้อนี้ ตรัสแต่อนาคามีบุคคล.
               บทว่า สมาหิตินฺทฺริโย ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์หกมั่นคงแล้ว.
               บทว่า ปโรปรา ได้แก่ ธรรมอย่างสูงและอย่างเลว. อธิบายว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรม.
               บทว่า สเมจฺจ ได้แก่ มาพร้อมกันด้วยญาณ.
               บทว่า วิธูปิตา ได้แก่ อันท่านกำจัดหรือเผาเสียแล้ว.
               บทว่า วุสิตพฺรหฺมจริโย ความว่า อยู่จบมรรคพรหมจรรย์.
               บทว่า โลกนฺตคู ความว่า ถึงที่สุดแห่งโลกทั้งสาม.
               บทว่า ปารคโต ความว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ ๖.
               ในข้อนี้ตรัสแต่พระขีณาสพเท่านั้น แต่วัฏฏะและวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) ตรัสไว้ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถาด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาอนุโสตสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ภัณฑคามวรรคที่ ๑ ๕. อนุโสตสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 4อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 5อ่านอรรถกถา 21 / 6อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=101&Z=133
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6499
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6499
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :