![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อธิคมนียานิ คือ พึงถึง. บทว่า กามโภคินา คือ ผู้บริโภควัตถุกามและกิเลสกาม. บรรดาสุขมีอัตถิสุขเป็นต้น สุขที่เกิดขึ้นว่าโภคทรัพย์มีอยู่ ชื่อว่าอัตถิสุข สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์. สุขที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ชื่อว่าโภคสุข สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค. สุขที่เกิดขึ้นว่าเราไม่เป็นหนี้ ชื่อว่าอนณสุข สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้. สุขที่เกิดขึ้นว่าปราศจากโทษ ไม่เป็นโทษ ชื่อว่าอนวัชชสุข สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ไม่มีโทษ. บทว่า ภุญฺชํ แปลว่า เมื่อบริโภค. บทว่า ปญฺญา วิปสฺสติ แปลว่า ย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. บทว่า อุโภ ภาเค แปลว่า สองส่วน. อธิบายว่า พิจารณาเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า ความสุขสามข้างต้น จัดเป็นส่วนหนึ่ง. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ จัดเป็นส่วนหนึ่ง ชื่อว่ารู้สองส่วน. บทว่า อนวชฺชสุขสฺเสตํ ความว่า สุขแม้สามอย่างนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งสุขที่เกิดแต่ประกอบการงานไม่มีโทษ ดังนี้. จบอรรถกถาอันนนาถสูตรที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปัตตกรรมวรรคที่ ๒ ๒. อันนนาถสูตร จบ. |