ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 69อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 70อ่านอรรถกถา 21 / 71อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปัตตกรรมวรรคที่ ๒
๑๐. ธรรมิกสูตร

               อรรถกถาธัมมิกสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในธัมมิกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อธมฺมิกา โหนฺติ ความว่า พระราชาทั้งหลายประพฤติไม่เป็นธรรมโดยไม่เก็บส่วย ๑๐ ส่วน และไม่ลงโทษตามสมควรแก่ความผิด ซึ่งพระราชาเก่าก่อนทรงตั้งไว้แล้ว เก็บส่วยเกินพิกัดและลงโทษเกินกำหนด.
               บทว่า ราชยุตฺตา ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำราชการอยู่ในชนบทของพระราชา.
               บทว่า พฺราหฺมณคหปติกา ได้แก่ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายผู้อยู่ภายในเมือง.
               บทว่า เนคมชานปทา ได้แก่ ชาวนิคมและชาวชนบท.
               บทว่า วิสมํ ความว่า ลมก็ผันแปรไป ไม่ถูกตามฤดู.
               บทว่า วิสมา ความว่า ลมพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงเกินไปบ้าง พัดอ่อนเกินไปบ้าง.
               บทว่า อปญฺชสา ได้แก่ ลมนอกทาง พัดออกนอกทางไป.
               บทว่า เทวตา ปริกุปฺปิตา ภวนฺติ ความว่า ด้วยว่าเมื่อลมนอกทางพัดไม่สม่ำเสมอ ต้นไม้ทั้งหลายก็หัก วิมานก็พังทะลาย เพราะฉะนั้น พวกเทวดาก็ปั่นป่วน. เทวดาเหล่านั้นจึงไม่ยอมให้ฝนตกตามฤดูกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ฝนก็ไม่ติดตามฤดูกาล.
               บทว่า วิสมปากีนิ สสฺสานิ ภวนฺติ ความว่า ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกันอย่างนี้คือ ในที่แห่งหนึ่งตั้งท้อง ในที่แห่งหนึ่งเกิดน้ำนม แต่ที่แห่งหนึ่งแก่ ดังนี้.
               บทว่า สมํ นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ปริวตฺตนฺติ ความว่า ดาวนักษัตรทั้งหลายย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอเหมือนวันเพ็ญนั้นได้นักษัตรนั้นๆ ในเดือนนั้นอย่างนี้ว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ ได้นักษัตรในเดือน ๑๒ เท่านั้น วันเพ็ญเดือนอ้ายได้นักษัตรในเดือนอ้ายเท่านั้นฉะนั้น.
               บทว่า สมํ วาตา วายนฺติ ความว่า ลมทั้งหลายมิใช่พัดไม่สม่ำเสมอพัดในฤดูกาลเท่านั้น ย่อมพัดในฤดูอันเหมาะแก่ชนบทเหล่านั้นๆ อย่างนี้ คือลมเหนือพัด ๖ เดือน ลมใต้พัด ๖ เดือน.
               บทว่า สมา ความว่า ลมพัดสม่ำเสมอ ไม่แรงเกินไป ไม่อ่อนเกินไป.
               บทว่า ปญฺชสา ได้แก่ ลมที่พัดในทางย่อมพัดตามทางนั่นเอง หาใช่พัดโดยมิใช่ทางไม่.
               บทว่า ชิมฺหํ คจฺฉติ แปลว่า เดินไปคด คือย่อมถือเอาแต่ที่มิใช่ท่า.
               บทว่า เนตฺเต ชิมฺหํ คเต สติ ได้แก่ โคชื่อว่าเนตตา เพราะนำไป. อธิบายว่า เมื่อโคตัวนำเดินไปคด ถือเอาแต่ที่มิใช่ท่า โคแม้นอกนี้ย่อมถือเอาแต่ที่มิใช่ท่าตามกันไป.
               ปาฐะว่า เนนฺเต ดังนี้ก็มี.
               บทว่า ทุกฺขํ เสติ แปลว่า ย่อมนอนเป็นทุกข์. อธิบายว่า ประสบทุกข์แล้ว.

               จบอรรถกถาธัมมิกสูตรที่ ๑๐               
               จบปัตตกัมมวรรควรรณนาที่ ๒               
               พระสูตรปนกับคาถา จบบริบูรณ์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. ปัตตกรรมสูตร
                         ๒. อันนนาถสูตร
                         ๓. สพรหมกสูตร
                         ๔. นิรยสูตร
                         ๕. รูปสูตร
                         ๖. สราคสูตร
                         ๗. อหิสูตร
                         ๘. เทวทัตตสูตร
                         ๙. ปธานสูตร
                         ๑๐. ธรรมิกสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปัตตกรรมวรรคที่ ๒ ๑๐. ธรรมิกสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 69อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 70อ่านอรรถกถา 21 / 71อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=2013&Z=2061
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8264
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8264
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :