บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส สงฺขารา ทฏฺฐพฺพา เป็นต้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมดาว่าสังขารทั้งหลาย พึงพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง พึงกำหนดโดยความไม่เที่ยง พึงเห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาก็อย่างนั้นดังนี้. แม้ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส จิตฺตํ สณฺฐเปตพฺพํ เป็นต้นพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงน้อมใจไปด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงให้เป็นสมาธิด้วยปฐมฌาน จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทุติยฌานเป็นต้น ก็อย่างนั้นดังนี้. ในพระสูตร ๓ สูตรเหล่านี้ ตรัสสมถะและวิปัสสนาเป็นโลกิยะและโลกุตระอย่างเดียว. จบอรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อสุรวรรคที่ ๕ ๔. สมาธิสูตรที่ ๓ จบ. |