![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ฉวาลาตํ ได้แก่ ดุ้นฟืนเผาศพในป่าช้า. บทว่า มชฺเฌ คูถคตํ ได้แก่ ตรงกลางก็เปื้อนคูถ. บทว่า เนว คาเม กฏฐตฺถํ ผรติ ความว่า ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในบ้าน เพราะไม่ควรนำเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมี อกไก่ ไม้กลอนหลังคา เสาและบันไดเป็นต้น ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในป่า เพราะไม่ควรนำเข้าไปทำขาค้ำกระท่อมในนาหรือขาเตียง เมื่อจับที่ปลายทั้งสองก็ย่อมไหม้มือ เมื่อจับที่ตรงกลางก็เปื้อนคูถ. บทว่า ตถูปมํ ความว่า บุคคลนั้นก็เหมาะสมกัน. บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร คือ สูงสุดกว่า. บทว่า ควา ขีรํ ได้แก่ น้ำนมแต่แม่โค. ในบทว่า ขีรมฺหา ทธิ เป็นต้น ความว่า แต่ละอย่างเป็นของเลิศกว่าก่อนๆ. ส่วนสัปปิมัณฑะ หัวเนยใสเป็นยอดเยี่ยมในน้ำนมเป็นต้นเหล่านั้น แม้ทั้งปวง. ในบทว่า อคฺโค เป็นต้น พึงทราบว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐเป็นประมุขสูงสุดและล้ำเลิศด้วยคุณทั้งหลาย. บุคคลผู้ทุศีลตรัสเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่พึงทราบว่าตรัสบุคคลผู้มีสุตะน้อย ผู้ จบอรรถกถาฉวาลาตสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อสุรวรรคที่ ๕ ๕. ฉลาวาตสูตร จบ. |