![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ขิปฺปนิสนฺติ ความว่า บุคคลตั้งใจฟังสามารถรู้ได้เร็ว. บทว่า ธตานญฺจ ธมฺมานํ ความว่า ธรรมที่เป็นบาลีแบบอย่าง ทรงจำได้คล่องแคล่ว. บทว่า อตฺถุปปริกฺขิ ความว่า เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความ. บทว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ความว่า รู้ถึงอรรถกถาและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมทั้งศีล เป็นธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙. บทว่า โน จ กลฺยาณวาโจ โหติ ความว่า แต่เป็นคนพูดไม่ดี. บทว่า น กลฺยาณวากฺกรโณ ความว่า เป็นคนมีเสียงไม่ไพเราะ. โน อักษรควรประกอบกับบทว่า โปริยา เป็นต้น ความว่า ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยวาจาซึ่งสามารถชี้แจงให้เขาเข้าใจเนื้อความด้วยบทและพยัญชนะอันมิได้อยู่ในคอ เต็มด้วยคุณ ไม่ตะกุกตะกัก ไม่มีโทษ. ในบททั้งปวง ก็พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้. จบอรรถกถานิสันติสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อสุรวรรคที่ ๕ ๗. นิสันติสูตร จบ. |