บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า อปฺปฏิกูเล ได้แก่ ในอารมณ์อันไม่ปฏิกูล. บทว่า ปฏิกูลสญฺญี ได้แก่ มีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ปฏิกูล. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. ถามว่า ก็ภิกษุนี้อยู่อย่างนี้ได้อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุขยายไปในวัตถุที่น่าปรารถนาโดยความเป็นของไม่งาม หรือน้อมนำเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่ามีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นปฏิกูลด้วยอาการอย่างนี้อยู่. ภิกษุขยายไปในวัตถุอันไม่น่าปรารถนาโดยเมตตาหรือน้อมนำเข้าไปโดยเป็นธาตุ ชื่อว่ามีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลด้วยอาการอย่างนี้อยู่. ก็ในทั้งสองอย่างนี้ท่านกล่าวถึงตติยวารและจตุตถวารโดยนัยต้นและนัยหลัง. ท่านกล่าวนัยที่ ๕ ด้วยฉฬังคุเบกขา ก็ฉฬังคุเบกขานี้คล้ายกับอุเบกขาของพระขีณาสพ แต่ไม่ใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุเปกฺขโก วิหเรยฺย ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง. บทว่า กฺวจินิ ได้แก่ ในอารมณ์ไรๆ. บทว่า กตฺถจิ ได้แก่ ในถิ่นที่ไรๆ. บทว่า กิญฺจินา คือ แม้มีประมาณน้อยไรๆ. ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาอย่างเดียวนั้นได้ แม้สมณะผู้เป็นพหูสูต มีญาณ มีปัญญายิ่งนักก็บำเพ็ญได้. พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีย่อมทำได้ทั้งนั้น. พระขีณาสพ ไม่ต้องพูดแล. จบอรรถกถาติกัณฑกีสูตรที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ติกัณฑกีวรรคที่ ๕ ๔. ติกัณฑกีสูตร จบ. |