ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 191อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 192อ่านอรรถกถา 22 / 193อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕
๒. โทณสูตร

               อรรถกถาโทณสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในโทณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ตฺวํปิ โน แก้เป็น ตฺวมฺปิ นฺ แปลว่า แม้ท่านหนอ.
               บทว่า ปวตฺตาโร คือ ผู้สอน.
               บทว่า เยสํ คือ เป็นสมบัติของฤาษีเหล่าใด.
               บทว่า มนฺตปทํ ได้แก่ มนต์ คือพระเวทนั่นเอง.
               บทว่า คีตํ ได้แก่ พวกโบราณพราหมณ์ ๑๐ คนมีอัฏฐกพราหมณ์เป็นต้นสาธยายแล้วด้วยสรภัญญสมบัติ คือเสียง.
               บทว่า ปวุตฺตํ ได้แก่ บอกกล่าว [สอน] แก่คนอื่น.
               บทว่า สมิหิตํ ได้แก่ รวบรวม คือทำให้เป็นกอง. อธิบายว่า ตั้งไว้เป็นกลุ่มเป็นก้อน.
               บทว่า ตทนุคายนฺติ ความว่า บัดนี้พราหมณ์ทั้งหลายก็ขับสาธยายมนต์ตามที่โบราณพราหมณ์เหล่านั้นขับมาก่อน.
               บทว่า ตทนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวมนต์นั้นตาม.
               บทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นแล.
               บทว่า ภาสิตมนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวไว้.
               บทว่า สชฺฌายิตมนุสชฌายนฺติ ได้แก่ สาธยายตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้นสาธยาย.
               บทว่า วาจิตมนุวาเจนฺติ ได้แก่ บอกตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้นบอกแก่ผู้อื่น.
               บทว่า เสยฺยถีทํ ได้แก่ โบราณพราหมณ์เหล่านั้นมีใครบ้าง.
               บทว่า อฏฺฐุโก เป็นต้นเป็นชื่อของโบราณพราหมณ์เหล่านั้น.
               ได้ยินว่า โบราณพราหมณ์เหล่านั้นตรวจดูด้วยทิพยจักษุแล้วไม่ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบปาพจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเรียบเรียงมนต์ทั้งหลาย. แต่พราหมณ์อีกพวกหนึ่งใส่กรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นเข้าไปทำลายพระเวท ๓ ทำให้ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์เสีย.
               บทว่า อสฺสุ ในบทว่า ตฺยาสฺสุเม นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า พราหมณ์เหล่านั้นบัญญัติพราหมณธรรม ๕ เหล่านี้.
               บทว่า มนฺเต อธิยมาโน ได้แก่ ท่องเรียนพระเวททั้งหลาย.
               บทว่า อาจริยนํ ได้แก่ ทรัยพ์บูชาอาจารย์ คือทรัพย์อันเป็นส่วนบูชาอาจารย์.
               บทว่า น อิสฺสตฺเถน ได้แก่ ไม่ใช่ให้เกิดขึ้นด้วยงานนักรบอาชีพ.
               บทว่า น ราชโปริเสน ได้แก่ ไม่ใช่ให้เกิดขึ้นด้วยความเป็นข้าราชการ.
               บทว่า เกวลํ ภิกฺขาจริยาย ได้แก่ เกิดขึ้นด้วยภิกขาจารอันบริสุทธิ์ [ล้วนๆ] เท่านั้น.
               บทว่า กปาลํ อนติมญฺญมาโน ได้แก่ ไม่ดูหมิ่นภิกขาภาชนะ.
               ก็โทณพราหมณ์นั้นถือภิกขาภาชนะใส่น้ำเต็มแล้ว สนานศีรษะ ไปยืนอยู่ที่ประตูของตระกูลทั้งหลายร้องขอว่า ข้าพเจ้าประพฤติโกมารพรหมจรรย์ (เป็นชายโสด) มาตลอด ๔๘ ปี ทั้งมนต์ข้าพเจ้าก็เรียนแล้ว ข้าพเจ้าจักให้ทรัพย์บูชาอาจารย์แก่อาจารย์ ขอท่านทั้งหลายจงให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าเถิดดังนี้. พวกมนุษย์ได้ฟังดังนั้นต่างก็ให้ทรัพย์ ๘ กหาปณะบ้าง ๑๖ กหาปณะบ้าง ๑๐๐ กหาปณะบ้างตามกำลังสามารถ โทณพราหมณ์เที่ยวไปขอทั่วหมู่บ้าน อย่างนี้แล้วมอบทรัพย์ที่ได้ให้แก่อาจารย์.
               คำนั้นท่านกล่าวหมายถึงภิกขาภาชนะนั้น.
               บทว่า เอวํ โข โทณพฺราหฺมโณ พฺรหฺมสโม โหติ ความว่า พราหมณ์เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยพรหม เพราะประกอบด้วยพรหมวิหารอย่างนี้.
               บทว่า เนว กเยน น วิกฺกเยน ได้แก่ ไม่ใช่ตนเองซื้อ ไม่ใช่ผู้อื่นขายให้.
               บทว่า อุทกูปสฏฺฐํ ได้แก่ ที่เขาหลั่งน้ำสละให้.
               โทณพราหมณ์นั้นไปยืนอยู่ที่ประตูของตระกูลที่มีหญิงสาววัยรุ่น เมื่อเขาถามว่าเหตุไรท่านจึงยืนอยู่ พราหมณ์ตอบว่า ข้าพเจ้าประพฤติโกมารพรหมจรรย์มา ๔๘ ปี ข้าพเจ้าจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ท่าน ขอท่านจงให้หญิงสาวแก่ข้าพเจ้าเถิด. พวกเขานำหญิงสาวมาแล้วหลั่งน้ำลงบนมือของพราหมณ์นั้นให้. โทณพราหมณ์นั้นรับหญิงสาวที่เขาหลั่งน้ำให้เป็นภรรยาก็กลับไป.
               บทว่า อติมิฬฺหโช ได้แก่ เกิดในที่สกปรกยิ่ง คือกองคูถใหญ่.
               บทว่า ตสฺสสฺส ตัดบทเป็น ตสฺส เอตสฺส.
               บทว่า น ทฺวตฺถา ได้แก่ ไม่ต้องการเล่น.
               บทว่า น รตตฺถา ได้แก่ ไม่ต้องการความยินดีในกาม.
               บทว่า เมถุนํ อุปฺปาเทตฺวา ความว่า พราหมณ์ให้กำเนิดธิดาหรือบุตร แล้วคิดว่า บัดนี้ประเวณีจักสืบต่อไปจึงออกบวช.
               บทว่า สุคตึ สคฺคํ โลกํ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงพรหมโลกเท่านั้น.
               บทว่า เทวสโม โหติ ได้แก่ เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยเทวดา เพราะประกอบด้วยทิพยวิหารธรรม.
               บทว่า ตเมว ปุตฺตสฺสาทํ นิกายมาโน ความว่า พราหมณ์ปรารถนาคือต้องการความรักในบุตร ความพอใจในบุตรที่เกิดขึ้นเพราะเห็นธิดาหรือบุตรเกิด.
               บทว่า กุฏฺมฺพํ อชฺฌาวสติ ได้แก่ อยู่ท่ามกลางทรัพยสมบัติ.
               บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาโทณสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕ ๒. โทณสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 191อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 192อ่านอรรถกถา 22 / 193อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=5215&Z=5376
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1604
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1604
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :