บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบทว่า กายทฺจฺจริเตน เป็นต้น เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถทุติยาวิภัติ. อธิบายว่า ละอาย รังเกียจ ซึ่งกายทุจริตเป็นต้นอันควรละอาย. ในโอตตัปปนิเทศเป็นตติยาวิภัติลงในอรรถว่า เหตุ. อธิบายว่า เกรงกลัว เพราะกายทุจริตเป็นต้นอันเป็นเหตุแห่งโอตตัปปะ. บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ ประคองความเพียรไว้ มีใจไม่ท้อถอย. บทว่า ปหานาย แปลว่า เพื่อละ. บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อได้เฉพาะ. บทว่า ถามวา ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า ทฬฺหรกฺกโม ได้แก่ มีความบากบั่นมั่นคง. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ไม่วางธุระ เพียร ไม่ท้อถอยในกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ อันให้ถึงความเกิด ความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง ๕ สามารถรู้ปรุโปร่งความเกิดและความเสื่อมได้. บทว่า ปญฺญาย สมนฺนาคโต ได้แก่ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา. บทว่า อริยาย ได้แก่ ตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ด้วยการข่มไว้และด้วยการตัดขาด ชื่อว่าบริสุทธิ์. บทว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า ปัญญานั้น ท่านเรียกว่า นิพเพธิกา เพราะรู้แจะแทงตลอด. อธิบายว่า ประกอบด้วยนิพเพธิกปัญญานั้น. ในข้อนั้น มรรคปัญญา ชื่อว่า นิพเพธิกา เพราะเจาะทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ยังไม่เคยเจาะ ยังไม่เคยทำลายด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน. วิปัสสนาปัญญา ชื่อว่านิพเพธิกา ด้วยอำนาจตทังคปหาน. หรืออีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาควรจะเรียกว่า นิพเพธิกา เพราะเป็นไปเพื่อได้มรรคปัญญา. แม้ในบทว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา นี้ มรรคปัญญาชื่อว่าทุสัมมาทุกขักขยคามินี เพราะทำวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ให้สิ้นไปโดยชอบ โดยเหตุ โดยนัย. วิปัสสนาปัญญา ชื่อว่าทุกขักขยคามินี เพราะทำวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ให้สิ้นไปด้วยอำนาจตทังคปหาน. วิปัสสนาปัญญานั้น พึงทราบว่าเป็นทุกขักขยคามินี เพราะเป็นไปด้วยการถึงความสิ้นทุกข์ หรือด้วยการได้เฉพาะซึ่งมรรคปัญญา. ในสูตรนี้ท่านกล่าวพละ ๕ ปนกันด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาวิตถตสูตรที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เสขพลวรรคที่ ๑ ๒. วิตถตสูตร จบ. |