![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อุปสมฺปาเทตพฺพํ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์ควรให้อุปสมบท. สูตรที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๕๒) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า นิสฺสโย ทาตพฺโพ ได้แก่ เป็นอาจารย์พึงให้นิสัยได้. สูตรที่ ๓ (บาลีข้อ ๒๕๓) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สามเณโร อุปฏฺฐาเปตพฺโพ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้. สามสูตรนี้ตรัสโดยหมายถึงพระขีณาสพในปฐมโพธิกาลเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. สูตรที่ ๔ เป็นต้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น โดยพรรณนาตามลำดับบท. เรื่องวินิจฉัยภัตตุทเทสก์เป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกาแล. [๒๖๑] บทว่า สมฺมโต น เปเสตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุได้รับสมมติตามปกติ ก็ไม่ควรส่งไปด้วยคำสั่งว่า ท่านจงไป จงแสดงภัตทั้งหลายดังนี้. บทว่า สาฏิยคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกจ่ายผ้าอาบน้ำฝน. บทว่า ปตฺตคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกบาตรที่ท่านกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า บาตรใดเป็นบาตรสุดท้ายของภิกษุบริษัทนั้น บาตรนั้นควรให้ถึงแก่ภิกษุนั้น. [๒๖๒] บทว่า อาชีวโก ได้แก่ นักบวชเปลือย. [๒๖๓] บทว่า นิคฺคณฺโฐ ได้แก่ ปิดกายท่อนบน. บทว่า มุณฺฑสาวโก ได้แก่ สาวกของนิครนถ์. บทว่า ชฏิลโก คือ ดาบส. บทว่า ปริพฺพาชโก คือ ปริพาชกผู้นุ่งห่มผ้า. แม้นักบวชมีมาคัณฑิกะเป็นต้นก็จัดเป็นเดียรถีย์เหมือนกัน. ส่วนสุกกปักข์มิได้ถือเอา เพราะนักบวชเหล่านั้นไม่มีการทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ชื่อมโนรถปูรณี ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค จบ. |