ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 26อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 27อ่านอรรถกถา 22 / 28อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปัญจังคิกวรรคที่ ๓
๗. สมาธิสูตร

               อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ โลกุตรสมาธิอันเว้นจากธรรมที่กำหนดประมาณได้.
               บทว่า นิปกา ปติสฺสตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญารักษาตนและสติ.
               บทว่า ปญฺจ ญาณานิ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ ๕.
               บทว่า ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า ย่อมเกิดขึ้นในตนเท่านั้น.
               ในบทเป็นต้นว่า อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว ท่านประสงค์เอาอรหัตผลสมาธิ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มคฺคสมาธิ ดังนี้ก็มี.
               จริงอยู่ สมาธินั้นชื่อว่าเป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นสุขในขณะที่จิตแน่วสนิท. สมาธิต้นๆ มีสุขเป็นวิบากในอนาคต เพราะเป็นปัจจัยแก่สมาธิสุขหลังๆ แล.
               สมาธิชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย.
               ชื่อว่านิรามิส เพราะไม่มีอามิสส่วนกาม อามิสส่วนวัฏฏะ อามิสส่วนโลก. ชื่อว่ามิใช่ธรรมที่คนเลวเสพ เพราะเป็นสมาธิอันมหาบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเสพแล้ว. ชื่อว่าสงบ เพราะสงบอังคาพยพคือกาย สงบอารมณ์และสงบจากความกระวนกระวายด้วยอำนาจสรรพกิเลส. ชื่อว่าประณีต เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ชื่อว่าได้ความรำงับ เพราะความรำงับกิเลสอันตนได้แล้ว หรือตนได้ความรำงับกิเลส.
               บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธํ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ นี้ โดยความได้เป็นอันเดียวกัน
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าได้ความรำงับ เพราะผู้มีกิเลสอันรำงับ หรือผู้ไกลจากกิเลสได้แล้ว.
               ชื่อว่าถึงเอโกทิ เพราะถึงด้วยความมีธรรมเอกผุดขึ้น หรือถึงความมีธรรมเอกผุดขึ้น.
               ชื่อว่าไม่ต้องใช้ความเพียรข่มห้าม เพราะไม่ต้องใช้จิตอันมีสังขารคือความเพียรข่มห้ามกิเลสอันเป็นข้าศึกบรรลุ เหมือนอย่างสมาธิของผู้ที่ยังมีอาสวะอันไม่คล่องแคล่ว ภิกษุเมื่อเข้าสมาธินั้นหรือออกจากสมาธินั้น ย่อมมีสติเข้ามีสติออก หรือว่ามีสติเข้ามีสติออก โดยกาลตามที่กำหนดไว้ เพราะเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ เพราะฉะนั้น ปัจจยปัจจเวกขณญาณ ความรู้พิจารณาเห็นปัจจัยในสมาธินี้อันใด เกิดขึ้นเฉพาะตัวเท่านั้นแก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต ปัจจยปัจจเวกขณญาณนั้นก็เป็นญาณอย่างหนึ่ง.
               ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
               ญาณ ๕ เหล่านี้ย่อมเกิดเฉพาะตนเท่านั้นด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปัญจังคิกวรรคที่ ๓ ๗. สมาธิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 26อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 27อ่านอรรถกถา 22 / 28อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=515&Z=527
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=184
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=184
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :