บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า อนุตฺตริยานิ ความว่า (การเห็นเป็นต้น) ที่เว้นจากสิ่งอื่นที่ยิ่งกว่า ชื่อว่า นิรุตฺตรานิ. บทว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ ความว่า (การเห็นพระพุทธเจ้าเป็นต้น) เป็นการเห็นอย่างยอดเยี่ยมในการเห็นรูปทั้งหลาย. ในบททั้งปวง ก็มีนัยเช่นนี้. อธิบายว่า การเห็นช้างแก้วเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นทัศนานุตริยะ. ส่วนการเห็นพระทศพลก็ดี ภิกษุสงฆ์ก็ดี ด้วยอำนาจความรักที่มั่นคง การเห็นนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดากสิณและอสุภนิมิตเป็นต้นก็ดีของผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่าทัศนานุตริยะ. การฟังคุณกถาของกษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นสวนานุตริยะ. ส่วนการฟังคุณกถาของพระรัตนตรัยด้วยสามารถแห่งความรักที่มั่นคงก็ดี การฟังพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกก็ดี ของผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่าสวนานุตริยะ. การได้แก้วมณีเป็นต้น ไม่เป็นลาภานุตริยะ ส่วนการได้อริยทรัพย์ ๗ ชื่อว่าลาภานุตริยะ. การศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นสิกขานุตริยะ ส่วนการบำเพ็ญสิกขา ๓ ชื่อว่าสิกขานุตริยะ. การบำเรอกษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นปาริจจริยานุตริยะ ส่วนการบำรุงพระรัตนตรัย ชื่อว่าปาริจริยานุตริยะ. การระลึกถึงคุณของกษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นอนุสตานุตริยะ. ส่วนการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ชื่อว่าอนุสตานุตริยะ. อนุตริยะทั้ง ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. จบอรรถกถาอนุตตริยสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ๘. อนุตตริยสูตร จบ. |