![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ปฏิหิตาย แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ย่อมพิจารณาอย่างนี้. ในบทนี้ว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ดังนี้ อันตรายมี ๓ อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต ๑ อันตรายแห่งสมณธรรม ๑ อันตรายแห่งสวรรค์ อันตรายแห่งมรรคสำหรับผู้ทำกาลกิริยาของปุถุชน ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอันตรายทั้ง ๓ อย่างนั้นทีเดียว. บทว่า พฺยาปชฺเชยฺย ความว่า พึงวิบัติไป ด้วยสามารถแห่งการไม่ย่อยเป็นต้น. บทว่า อธิมตฺโต แปลว่า มีกำลัง. ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่าฉันทะ. ความเพียรในการประกอบกิจ ชื่อว่าวายามะ. ความเพียรที่เป็นเหตุ แห่งความกระตือรือร้น ชื่อว่าอุตสาหะ. ความเพียรที่เป็นเหตุให้ถึงพร้อม (สำเร็จ) ชื่อว่าอุสโสฬหิ. ความไม่ท้อถอย คือความไม่หดกลับ ชื่อว่าอัปปฏิวานี. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล. จบอรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐ จบสาราณิยาทิวรรควรรณนาที่ ๒ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. สาราณิยสูตรที่ ๑ ๒. สาราณิยสูตรที่ ๒ ๓. เมตตสูตร ๔. ภัททกสูตร ๕. อนุตัปปิยสูตร ๖. นกุลสูตร ๗. กุสลสูตร ๘. มัจฉสูตร ๙. มรณัสสติสูตรที่ ๑ ๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒ ฯ .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สาราณิยาทิวรรคที่ ๒ ๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒ จบ. |