บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบทว่า มโนภาวนียสฺส นี้ มีวิเคราะห์ว่า ภิกษุชื่อว่าผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะอบรมใจ คือยังใจให้เจริญ. บทว่า ทสฺสนาย ได้แก่ เพื่อเห็น. บทว่า นิสฺสรณํ ได้แก่ ทางออกคือความสงบระงับ. บทว่า ธมฺมํ เทเสติ ความว่า บอกอสุภกัมมัฏฐานเพื่อต้องการให้ละกามราคะ. ในทุติยวารเป็นต้น พึงทราบอธิบายว่า บอกเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละพยาบาทนิวรณ์ บอกกัมมัฏฐานที่เป็นเหตุบรรเทาถีนมิทธะ คืออาโลกสัญญา หรือกัมมัฏฐานอันเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อละถีนมิทธนิวรณ์ แสดงธรรมกล่าวกถาปรารภคุณของพระรัตนตรัย เพื่อละวิจิกิจฉานิวรณ์. บทว่า อาคมฺม แปลว่า ปรารภ. บทว่า มนสิกโรโต ความว่า ทำไว้ในใจด้วยสามารถให้เป็นอารมณ์. บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ความว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี โดยปราศจากอันตราย. จบอรรถกถาปฐมสมยสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อนุตตริยวรรคที่ ๓ ๗. สมยสูตรที่ ๑ จบ. |