ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 29อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 30อ่านอรรถกถา 22 / 31อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปัญจังคิกวรรคที่ ๓
๑๐. นาคิตสูตร

               อรรถกถานาคิตสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในนาคิตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               ชื่อว่า อุจฺจาสทฺทมหาสทฺทา เพราะชื่อว่ามีเสียงสูงเพราะเสียงขึ้นไปเบื้องบน และชื่อว่ามีเสียงดังเพราะเสียงเป็นกลุ่มก้อน.
               จริงอยู่ เมื่อชนทั้งหลายมีกษัตริย์มหาศาลและพราหมณ์มหาศาลเป็นต้น ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ถือสักการะเป็นอันมาก พากันเดินมา เมื่อพวกเขาพูดว่า ท่านจงให้โอกาสแก่คนโน้น จงให้โอกาสแก่คนโน้นดังนี้ เมื่อต่างคนต่างพูดกันอย่างนี้ว่า เราไม่มีโอกาสก่อนดังนี้ เสียงก็สูงและดัง.
               บทว่า เกวฏฺฏา มญฺเญ มจฺเฉ วิโลเปนฺติ แปลว่า ชะรอยชาวประมง.
               จริงอยู่ เมื่อชาวประมงเหล่านั้นถือกระจาดใส่ปลา เดินมาในตลาดขายปลา ย่อมจะมีเสียงเช่นนี้ของหมู่ชนผู้ซึ่งต่างพูดกันว่า ขายให้ข้านะ ขายให้ข้านะดังนี้.
               บทว่า มิฬฺหสุขํ ได้แก่ สุขไม่สะอาด.
               บทว่า มิทฺธสุขํ ได้แก่ สุขในการหลับ.
               บทว่า ลาภสกฺการสิโลกสุขํ ได้แก่ สุขเกิดขึ้นเพราะอาศัยลาภสักการะและการสรรเสริญ.
               บทว่า ตํนินฺนาว ภวิสฺสนฺติ ท่านอธิบายว่า ชนทั้งหลายจักไป คือจักติดตามไปยังที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปแล้วนั่นแหละ.
               บทว่า ตถา หิ ภนฺเต ภควโต สีลปญฺญาณํ ความว่า เพราะเหตุที่ศีลและความมีชื่อเสียงของพระองค์มีอยู่อย่างนั้น.
               บทว่า มา จ มยา ยโส ความว่า แม้ยศก็อย่าร่วมไปกับเราเลย.
               บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่ นี้เป็นผลสำเร็จแห่งความเป็นของไม่สะอาด.
               บทว่า ปิยานํ ได้แก่ ที่ให้เกิดน่ารัก.
               บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่ นี้เป็นผลสำเร็จแห่งความเป็นของน่ารัก.
               บทว่า อสุภนิมิตฺตานุโยคํ ได้แก่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภกรรมฐาน.
               บทว่า สุภนิมิตฺเต ได้แก่ อิฏฐารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ.
               บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่ นี้เป็นผลสำเร็จแห่งการประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภนิมิตนั้น.
               ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาในฐานะ ๕ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถานาคิตสูตรที่ ๑๐               
               จบปัญจังคิกวรรควรรณนาที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. คารวสูตรที่ ๑
                         ๒.คารวสูตรที่ ๒
                         ๓. อุปกิเลสสูตร
                         ๔. ทุสสีลสูตร
                         ๕. อนุคคหสูตร
                         ๖. วิมุตติสูตร
                         ๗. สมาธิสูตร
                         ๘. อังคิกสูตร
                         ๙. จังกมสูตร
                         ๑๐. นาคิตสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปัญจังคิกวรรคที่ ๓ ๑๐. นาคิตสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 29อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 30อ่านอรรถกถา 22 / 31อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=636&Z=695
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=277
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=277
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :