ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 306อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 307อ่านอรรถกถา 22 / 308อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เสขปริหานิยวรรคที่ ๔
๖. วิวาทมูลสูตร

               อรรถกถาวิวาทมูลสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในวิวาทมูลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               มูลเหตุของการวิวาท ชื่อว่าวิวาทมูล. ผู้ที่ประกอบด้วยความโกรธมีความเคืองเป็นลักษณะ ชื่อว่าโกธนะ (ผู้มักโกรธ). ผู้ประกอบด้วยการผูกโกรธ มีการไม่สลัดเวรเป็รลักษณะ ชื่อว่าอุปนาหี (ผูกโกรธ).
               บทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ ความว่า การวิวาทของภิกษุ ๒ รูปย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
               ถามว่า เป็นไปได้อย่างไร?
               ตอบว่า (เป็นไปได้อย่างนี้ คือ) เมื่อภิกษุ ๒ รูปวิวาทกัน อันเตวาสิกของท่านทั้งสองนั้นในวัดนั้นก็จะวิวาทกัน ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุเหล่านี้ก็จะวิวาทกัน เหมือนในคัมภีร์โกสัมพีขันธกะ ต่อจากนั้น อุปัฏฐากของเหล่านั้นก็จะวิวาทกัน ต่อมาอารักขเทวดาของมนุษย์ทั้งหลายก็แยกกันเป็นสองฝ่าย อารักขเทวดาของฝ่ายพระธรรมวาทีก็จะเป็นเช่นนั้น คือเป็นข้างฝ่ายพระธรรมวาที ของฝ่ายพวกอธรรมวาทีก็จะเป็นพวกอธรรมวาที. ต่อจากนั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดาทั้งหลายก็จะแตกกัน.
               แต่ (ถ้า) ฝ่ายอธรรมวาทีมีจำนวนมากกว่าฝ่ายธรรมวาที ต่อแต่นั้น เทวดาของมนุษย์ทั้งหลายก็จะยึดเอาสิ่งที่คนจำนวนมากยึดถือ จะพากันละทิ้งธรรมยึดถือเอาอธรรมเป็นจำนวนมากทีเดียว. เทวดาของมนุษย์เหล่านั้น เมื่ออยู่อย่างยึดเอาอธรรมเป็นหลัก ก็จักเกิดในอบาย.
               การวิวาทของภิกษุทั้งสองรูปย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ด้วยประการดังพรรณนาฉะนี้.
               บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ได้แก่ บริษัทภายในของท่านทั้งหลาย.
               บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ บริษัทของคนเหล่าอื่น.
               ผู้ที่ประกอบไปด้วยการลบหลู่ ที่มีการลบล้างคุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า มักขี. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการตีเสมอ มีการจับคู่เป็นลักษณะ ชื่อว่า ปฬาสี (ตีเสมอ). ผู้ที่ประกอบไปด้วยความริษยา ที่มีความริษยาในสักการะเป็นต้นของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า อิสฺสุกี (ริษยา).
               ผู้ที่ประกอบไปด้วยความตระหนี่ทั้งหลาย มีความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น ชื่อว่า มัจฉรี (ผู้ตระหนี่). ผู้ที่โอ้อวด ชื่อว่า สฐะ. ผู้ที่ปกปิดสิ่งที่ทำไว้แล้ว ชื่อว่า มายาวี. ผู้ทุศีล ผู้ปรารถนาความยกย่องที่ไม่มีอยู่ ชื่อว่า ปาปิจฺโฉ (ปรารถนาลามก).
               บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ นัตถิกวาทีบุคคล อเหตุกวาทีบุคคล อกิริยาวาทีบุคคล.
               บทว่า สนฺทิฏฺฐิปรามาสิ ได้แก่ ผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตนนั่นแล.
               บทว่า อาธานคฺคาหี ได้แก่ ผู้ยึดมั่น.
               บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาจจะละทิฏฐิที่ตนยึดแล้ว.
               ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียวเท่านั้น.

               จบอรรถกถาวิวาทมูลสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เสขปริหานิยวรรคที่ ๔ ๖. วิวาทมูลสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 306อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 307อ่านอรรถกถา 22 / 308อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=7874&Z=7908
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2615
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2615
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :