ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 330อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 331อ่านอรรถกถา 22 / 332อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑
๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร

               อรรถกถาจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อภิธมฺมกถํ ได้แก่ กถาเจือด้วยอภิธรรม.
               บทว่า กถํ โอปาเตติ ความว่า (พระจิตตหัตถิสารีบุตร) กล่าวถ้อยคำของตนตัดคำพูดของภิกษุเหล่านั้น.
               บทว่า เถรานํ ภิกฺขูนํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมายแห่งตติยวิภัตติ. มีความหมายว่า กับด้วยภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ.
               อนึ่ง มีความหมายว่า อภิธรรมกถาของพระเถระทั้งหลายอันใด แม้พระจิตตหัตถิสารีบุตรนี้ก็สามารถกล่าวอภิธรรมกถานั้นได้.
               บทว่า เจโตปริยายํ ได้แก่ วาระจิต.
               บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้.
               บทว่า โสรตโสรโต คือ เป็นผู้สงบเสงี่ยมเหมือนบุคคลผู้สงบเสงี่ยม. อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม.
               บทว่า นิวาตนิวาโต คือ เป็นผู้ถ่อมคนเหมือนบุคคลผู้ถ่อมคน. อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประพฤติถ่อมตน.
               บทว่า อุปสนฺตุปสนฺโต คือ เป็นผู้สงบระงับเหมือนบุคคลผู้สงบระงับ.
               บทว่า วปกสฺสเตว สตฺถารา ได้แก่ หลีกไปจากสำนักพระศาสดา.
               บทว่า สํสฏฺฐสฺส ได้แก่ คลุกคลีด้วยการคลุกคลี ๕ อย่าง.
               บทว่า วิสฏฺฐสฺส ได้แก่ ถูกปล่อย.
               บทว่า ปากฏสฺส ได้แก่ มีอินทรีย์ปรากฏ.
               บทว่า กิฏฺฐาโท ได้แก่ กินข้าวกล้า.
               บทว่า อนฺตรธาเปยฺย ได้แก่ พึงให้ฉิบหาย.
               บทว่า โคปสู ได้แก่ โคและแพะ.
               บทว่า สิปฺปิสมฺพุกํ ได้แก่ หอยนางรมและหอยโข่ง.
               บทว่า สกฺขรกถลํ ได้แก่ ก้อนกรวดและกระเบื้อง.
               บทว่า อาภิโทสิกํ ได้แก่ ของกินปรุงด้วยหญ้ากับแก้อันมีโทษปรากฏแล้ว.
               บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่พึงชอบใจ.
               บททุติยาวิภัตติที่ว่า ปุริสํ ภุตฺตาวึ นั้นใดในสูตรนั้น บทนั้นพึงเห็นว่าใช้ในความหมายแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
               บทว่า อมุญฺหาวุโส ปุริสํ ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุรุษโน้น.
               บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ นิมิตว่าเที่ยงทั้งปวง.
               บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธึ ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนาที่มีพลัง.
               บทว่า จีริฬิยสทฺโท ได้แก่ เสียงจิ้งหรีด.
               บทว่า สริสฺสติ เนกฺขมฺมสฺส ได้แก่ จักระลึกถึงคุณของบรรพชา.
               บทว่า อรหตํ อโหสิ ได้แก่ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในระหว่างพระอรหันต์ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               แท้จริง พระเถระนี้เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง. เพราะเหตุไร?
               ได้ยินว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ท่านได้กล่าวสรรเสริญคุณในความเป็นคฤหัสถ์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เพราะกรรมนั้นนั่นแล ทั้งที่เมื่ออุปนิสัยของอรหัตผลมีอยู่แท้ๆ ท่านก็เร่ร่อนไปในความเป็นคฤหัสถ์และการบรรพชา (บวชแล้วสึก) ถึง ๗ ครั้ง บวชในครั้งที่ ๗ จึงได้บรรลุอรหัตผลแล.

               จบอรรถกถาจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑ ๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 330อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 331อ่านอรรถกถา 22 / 332อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=9239&Z=9367
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3259
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3259
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :