บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า อญฺญตโร ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่งผู้เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต. บทว่า สมนฺนาหริตฺวา ได้แก่ น้อมนึก. ภิกษุนั้นถามเรื่องนี้ก็ด้วยความประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพราะทรงทราบ หรือไม่ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นเอกังสิกพยากรณ์ (ตรัสตอนโดยส่วนเดียว) หรือว่าตรัสเป็นวิภัชชพยากรณ์ (จำแนก บทว่า อปายิโก ได้แก่ บังเกิดในอบาย. บทว่า เนรยิโก ได้แก่ ไปสู่นรก. บทว่า กปฺปฏฺโฐ ได้แก่ จักดำรงอยู่ (ในนรก) ตลอดกัป เพราะได้ทำกรรมที่เป็นเหตุให้ดำรงอยู่ตลอดกัปไว้. บทว่า อเตกิจฺโฉ ได้แก่ ไม่สามารถจะแก้ไขได้. บทว่า เทฺวชฺฌํ ได้แก่ ภาวะเป็นสอง. บทว่า วาลคฺคโกฏิ นิตฺตุทนมตฺตํ ได้แก่ ความดีที่พอจะแสดงได้ ด้วยปลายขนทราย หรือความดีเพียงที่เอาปลายขนทรายจดลง. บทว่า ปุริสินฺทฺริยญาณานิ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย. อธิบายว่า ญาณเป็นเครื่องน้อมนึกถึงความที่อินทรีย์ทั้งหมดแก่กล้าและอ่อน. บทว่า วิชฺชมานา กุสลาปิ ธมฺมา อกุสลาปิ ธมฺมา ความว่า เราตถาคตรู้อยู่ว่า กุศลธรรม (ของบุคคลนี้) มีอยู่เท่านี้ อกุศลธรรมมีอยู่เท่านี้. บทว่า อนฺตรหิตา ได้แก่ ถึงการมองไม่เห็น. บทว่า สมฺมุขีภูตา ได้แก่ เกิดปรากฏด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น. บทว่า กุสลมูลํ ได้แก่ อัธยาศัยที่เป็นกุศล. บทว่า กุสลา มูลา กุสลํ ความว่า กุศลแม้อย่างอื่นก็จักบังเกิดจากอัธยาศัยที่เป็นกุศลนั้น. บทว่า สาราทานิ ได้แก่ ถือเอาสาระได้ คือมีสาระบุคคลถือเอาได้ หรือบังเกิดในเดือนสารท. บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ รวมเก็บไว้ดี. บทว่า สุกฺเขตฺเต ได้แก่ ในนาที่สมบูรณ์ด้วยปุ๋ย. บทว่า นิกฺขิตฺตานิ ได้แก่ ที่หว่านลง. บทว่า สปฺปฏิภาคา ได้แก่ ที่เห็นลม. บทว่า อภิโทสอฑฺฒรตฺตํ ได้แก่ ในเวลาใกล้กึ่งราตรี คือเมื่อเที่ยงคืน ปรากฏเฉพาะหน้า. บทว่า ภตฺตกาลสมเย ได้แก่ ในสมัย กล่าวคือเวลาเสวยพระกระยาหารของราชตระกูลทั้งหลาย. ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความเสื่อมเป็นธรรมดา. ตอบว่า พระเจ้าอชาตศัตรู เพราะว่าพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงเสื่อมจากมรรคผล เพราะอาศัยบาปมิตร ฝ่ายบุคคลผู้อื่นมีพระเจ้าสุปปพุทธะและสุนักขัตตะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบเหมือนกัน. ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา. ตอบว่า สุสิมะปริพาชก และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย) เป็นเช่นนี้. ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า จักปรินิพพาน. ตอบว่า สันตติมหาอำมาตย์และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย) เป็นเช่นนี้. จบอรรถกถาอุทกสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑ ๘. อุทกสูตร จบ. |