![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สนฺทิฏฺฐิกํ ได้แก่ ที่พึงเห็นเอง. บทว่า ทายโก คือ เป็นผู้กล้าในการให้. อธิบายว่า ไม่ใช่หยุดอยู่ด้วยเหตุเพียงเชื่อว่าทานเป็นของดีเท่านั้น ยังสามารถแม้บริจาคได้ด้วย. บทว่า ทานปติ ได้แก่ ให้ทานใดก็เป็นเจ้าแห่งทานนั้นให้. ไม่ใช่ทาสและไม่ใช่สหายทาน. ก็ผู้ใดตนเองบริโภคของอร่อย แต่ให้ของไม่อร่อยแก่บุคคลอื่น ผู้นั้นเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทานให้. ผู้ใดตนเองบริโภคสิ่งใด ให้สิ่งนั้นแล ผู้นั้นเป็นสหายแห่งทานให้. ฝ่ายผู้ใดตนเองยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยของธรรมดาๆ แต่ให้ของที่อร่อยแก่พวกคนอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นเจ้าของให้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง ทายกผู้เป็นเช่นนั้นว่าเป็นทานบดี ดังนี้. บทว่า อมงฺกุภูโต ได้แก่ ไม่ใช่เป็นผู้ไร้อำนาจ. บทว่า วิสารโท คือ ได้โสมนัสประกอบด้วยญาณ. บทว่า สหพฺยคตา คือ ถึงความร่วมกันเป็นอันเดียวกัน. บทว่า กตาวกาสา ความว่า ชื่อว่ามีโอกาสอันทำแล้ว เพราะตนกระทำกรรมที่มีโอกาสในไตรทิพย์นั้น แต่เพราะเหตุที่กรรมนั้นเป็นกุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึง บทว่า โมทเร คือ ร่าเริง บันเทิงอยู่. บทว่า อสิตสฺส ได้แก่ พระตถาคตผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ตาทิโน คือ เป็นผู้ถึงลักษณะคงที่. จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สุมนวรรคที่ ๔ ๔. สีหสูตร จบ. |