บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ปริยาทาย ติฏฺฐติ ความว่า ย่อมครอบงำคือยึดเอา ได้แก่ให้ส่ายไปตั้งอยู่. บทว่า อุคฺฆานิตา ได้แก่ พองขึ้น. บทว่า อสิหตฺเถน ความว่า แม้กับผู้ถือเอาดาบมา หมายตัดศีรษะ. บทว่า ปิสาเจน ความว่าแม้กับยักษ์ที่มาหมายจะกิน. บทว่า อาสทฺเท แปลว่า พึงแตะต้อง. บทว่า มญฺชุนา แปลว่า อันอ่อนโยน. บทว่า กาโมฆวุฬิหานํ คือ อันโอฆะคือกามพัดพาไปคร่าไป. บทว่า กาลํ คตึ ภวาภวํ คือ ซึ่งคติและการมีบ่อยๆ ตลอดกาลแห่งวัฏฏะ. บทว่า ปุรกฺขตา คือ ให้เที่ยวไปข้างหน้า ได้แก่กระทำไว้เบื้องหน้า. บทว่า เย จ กาเม ปริญฺญาย ความว่า ชนเหล่าใดเป็นบัณฑิตกำหนดรู้กามแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยปริญญา ๓. บทว่า จรนฺติ อกุโตภยา ความว่า ขึ้นชื่อว่าความมีภัยแต่ที่ไหนๆ ไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้นจึงหาภัยมิได้แต่ที่ไหนๆ เที่ยวไป. บทว่า ปารคตา ความว่า นิพพานท่านเรียกว่าฝั่ง. อธิบายว่า เข้าถึงนิพพานนั้น คือการทำให้แจ้งแล้วดำรงอยู่. บทว่า อาสวกฺขยํ ได้แก่ พระอรหัต. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะเท่านั้น ในคาถาทั้งหลายตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ. จบอรรถกถามาตุปุตติกสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรคที่ ๑ ๕. มาตุปุตติกสูตร จบ. |