บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า อารญฺญเกน แปลว่า ผู้อยู่ป่า. บทว่า อปตฺตสฺส ได้แก่ เพื่อถึงคุณวิเศษอันต่างโดยฌานวิปัสสนาและมรรคผลที่ยังไม่ถึง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ความว่า อันตรายแห่งชีวิต และอันตรายแห่งพรหมจรรย์นั้น จะพึงมีแก่เรา. อันตรายแห่งสวรรค์และอันตรายแห่งมรรค จะพึงมีแก่ภิกษุผู้ทำกาลกิริยา [ตาย] เยี่ยงปุถุชน คำว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถของตนเอง. บทว่า วิริยํ อารภามิ ได้แก่ เราจะทำความเพียร ๒ อย่าง. บทว่า สตฺถกา ได้แก่ ลมอันตัดที่ต่อและเส้นเอ็น ดุจศัสตรา. บทว่า วาเฬหิ แปลว่า หยาบช้า. บทว่า มาณเวหิ ได้แก่โจร. ในคำว่า กตกมฺเมหิ วา อกตกมฺเมหิ วา นี้ โจรทั้งหลายผู้ออกไปทำโจรกรรมแล้ว ชื่อว่าผู้ทำกรรมแล้ว. ผู้ออกไปเพื่อทำโจรกรรม [พยายาม] ชื่อว่าผู้ยังไม่ได้ทำกรรม. บรรดาโจร ๒ พวกนั้น เหล่าโจรถือเอาเลือดในคอของสัตว์ทั้งหลาย กระทำการเซ่นเทวดา ชื่อว่ากระทำกรรมแล้ว เพราะกรรมสำเร็จแล้ว. เหล่าโจรกระทำการเซ่นเสียก่อน ด้วยคิดว่า กรรมของเราจักสำเร็จผลด้วยวิธีอย่างนี้ ชื่อว่ายังไม่กระทำกรรม. ทรงหมายเอาข้อนี้ จึงตรัสว่า โจรเหล่านั้นพึงปลิดชีวิตเราเสียดังนี้. บทว่า วาฬาอมนุสฺสา ได้แก่ เหล่าอมนุษย์มียักษ์เป็นต้นที่หยาบช้าร้ายกาจ. จบอรรถกถาปฐมอนาคตสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓ ๗. อนาคตสูตรที่ ๑ จบ. |