บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า กลฺยาณกามา แปลว่า ผู้มีความต้องการอันดี. บทว่า รสคฺคานิ ได้แก่ รสยอดเยี่ยม. บทว่า สํสฏฺฐา วิหริสฺสนฺติ ได้แก่ จักอยู่ระคนด้วยสังสัคคะการระคน ๕ อย่าง. บทว่า สนฺนิธิการปริโภคํ ได้แก่ บริโภคของที่ทำสันนิธิ [สั่งสมไว้ผิดวินัย]. ในบทว่า โอฬาริกํปิ นิมิตฺตํ นี้ ภิกษุขุดดินเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ชื่อว่าทำนิมิตอย่างหยาบในแผ่นดิน. ภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้เขาตัดก็ดี ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ชื่อว่าทำนิมิตอย่างหยาบในของสดเขียว. ภิกษุให้เขาถือเอาใบไม้และผักเป็นต้น เก็บไว้เองก็ดี ใช้ให้เขาเก็บไว้ก็ดี ซึ่งผลไม้เพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่จำต้องกล่าวกันละ. ในพระสูตรทั้ง ๔ นี้ พระศาสดาตรัสความเจริญและความเลื่อมใสในพระศาสนาไว้. จบอรรถกถาจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐ จบโยธาชีววรรควรรณนาที่ ๓ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เจโตวิมุติสูตรที่ ๑ ๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒ ๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑ ๔. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๒ ๕. โยธาชีวสูตรที่ ๑ ๖. โยธาชีวสูตรที่ ๒ ๗. อนาคตสูตรที่ ๑ ๘. อนาคตสูตรที่ ๒ ๙. อนาคตสูตรที่ ๓ ๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔ ฯ .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓ ๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔ จบ. |