ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 135อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 136อ่านอรรถกถา 23 / 137อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ อุโปสถวรรคที่ ๕
๖. อนุรุทธสูตร

               อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๖               
               อนุรุทธสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า เยนายสฺมา อนุรุทธ ความว่า ได้ยินว่า เทวดาเหล่านั้นตรวจดูสมบัติของตนแล้วรำพึงว่า เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยอะไรหนอแล ดังนี้ เห็นพระเถระคิดว่า เราเป็นผู้ปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้าของพวกเราผู้ครองสมบัติจักรพรรดิราชในชาติก่อน ได้สมบัตินี้ก็เพราะตั้งอยู่ในโอวาทที่ท่านประทานไว้ จึงได้สมบัตินี้ พวกเราไปกันเถิดจะหาพระเถระมาเสวยสมบัตินี้ ดังนี้แล้ว ในเวลากลางวันนั่นเอง จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ.
               บทว่า ตีสุ ฐาเนสุ ได้แก่ ในเหตุ ๓ อย่าง.
               บทว่า ฐานโส ปฏิลภาม ได้แก่ ย่อมได้ทันทีนั่นเอง.
               บทว่า สทฺทํ ได้แก่ เสียงพูด เสียงเพลงขับ หรือเสียงเครื่องประดับ.
               จะกล่าวบทว่า ปีตา อสสุ เป็นต้น.
               พระอนุรุทธะคิดตรึกโดยนัยมีอาทิว่า ชั้นแรกเทวดาเป็นผู้มีสีเขียว ไม่สามารถจะเป็นผู้มีสีเหลืองได้ ดังนี้. เทวดาแม้เหล่านั้นรู้ว่า บัดนี้พระผู้เป็นเจ้าย่อมปรารถนาให้เรามีสีเหลือ บัดนี้ปรารถนาให้เรามีสีแดง จึงได้เป็นเช่นนั้น.
               บทว่า อจฺฉริกํ วาเทสิ ความว่า ปรบฝ่ามือแล้ว.
               บทว่า ปญฺจงฺติกสฺส ความว่า ดนดรีประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ คือ อาตตะ ๑ วิตตะ ๑ อาตตะวิตตะ ๑ สุสิระ ๑ ฆน ๑.
               บรรดาเครื่องดนตรีเหล่านั้น ดนตรีที่หุ้มหนังหน้าเดียว ในจำพวกกลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง ชื่อว่าอาตตะ. ดนตรีที่หุ้มหนังสองด้าน ชื่อว่าวิตตะ. ดนตรีที่หุ้มหนังทั้งหมด ชื่อว่าอาตตะวิตตะ. ดนตรีมีปี่เป็นต้น ชื่อว่าสุสิระ. ดนตรีมีสัมมตาลทำด้วยไม้ตาลเป็นต้น ชื่อว่าฆนะ.
               บทว่า สุวินีตสฺส ได้แก่ ที่บรรเลงดีแล้ว เพื่อให้รู้ว่าขึ้นพอดีแล้ว.
               บทว่า กุสเลหิ สุสมนฺนาหตสฺส ได้แก่ ที่นักดนตรีผู้ฉลาดเชี่ยวชาญบรรเลงแล้ว.
               บทว่า วคฺคู ได้แก่ ไพเราะ คือเพราะดี.
               บทว่า รชนีโย แปลว่า สามารถทำให้เกิดรัก.
               บทว่า กมนีโย แปลว่า ชวนให้น่าใคร่. ปาฐะว่า ขมนีโย ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เมื่อคนฟังตลอดวันก็ชอบใจ ไม่เบื่อ.
               บทว่า รมณีโย ได้แก่ ให้เกิดความมัวเมาด้วยมานะและมัวเมาในบุรุษ.
               บทว่า อินฺทฺริยานิ โอกิขิปี ความว่า พระเถระคิดว่า เทวดาเหล่านี้ทำสิ่งที่ไม่สมควร จึงทอดอินทรีย์ลงเบื้องต่ำ คือลืมตาไม่มองดู.
               บทว่า น ขฺวยฺโย อนุรุทฺโธ สาทิยติ ความว่า เทวดาคิดว่าเราฟ้อนเราขับ แต่พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีลืมตาไม่มองดู. เราจะฟ้อนจะขับกระทำไปทำไม ดังนี้แล้วจึงหายไปในที่นั้นเอง.
               บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระครั้นเห็นอานุภาพของเทวดาเหล่านั้นแล้วเข้าไปถามความนี้ว่า ผู้หญิงประกอบธรรมเท่าไรหนอแล จึงมาบังเกิดในเทวโลกที่มีเรือนร่างน่าชอบใจ.

               จบ อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ อุโปสถวรรคที่ ๕ ๖. อนุรุทธสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 135อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 136อ่านอรรถกถา 23 / 137อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=5504&Z=5586
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5818
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5818
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :