ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 162อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 163อ่านอรรถกถา 23 / 164อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑
๑๓. วิโมกขสูตร

               อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ ๖               
               วิโมกขสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า วิโมกฺขา ความว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะสภาวะอะไร. เพราะสภาวะที่พ้นยิ่ง.
               ก็ชื่อว่าสภาวะที่พ้นยิ่ง นี้คืออะไร?
               คือ สภาวะที่พ้นยิ่งด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึก และสภาวะที่พ้นยิ่งด้วยดีจากอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านอธิบายไว้ว่า ความเป็นไปในอารมณ์ เพราะภาวะที่ปราศจากความระแวงสงสัย โดยความไม่ยึดมั่น เหมือนทารกนอนปล่อยตัวบนตักบิดา ฉะนั้น. แต่ความหมายนี้ ไม่มีในวิโมกข์หลัง มีในวิโมกข์ก่อนทั้งหมด.
               ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               รูป คือรูปฌานที่ให้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจนีลกสิณเป็นต้น ในอารมณ์ทั้งหลายมีผมเป็นต้นในภายใน. รูปฌานนั้นมีแก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่ารูปี ผู้มีรูปฌาน.
               บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า ภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป มีนีลกสิณเป็นต้น แม้ที่มีในภายนอกด้วยฌานจักษุ. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรูปาวจรฌานทั้ง ๔ ของบุคคลผู้ให้ฌานเกิดในกสิณทั้งหลาย อันมีที่ตั้งทั้งภายในและภายนอก.
               บทว่าอชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี ความว่า ผู้ไม่กำหนดรูปในภายใน. อธิบายว่า ผู้ไม่ให้รูปาวจรฌานเกิดขึ้นในอารมณ์มีผมเป็นต้นของตน. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรมในภายนอกแล้ว ให้ฌานเกิดขึ้นในภายนอกนั่นเอง.
               ด้วยคำว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฌานในวรรณกสิณมีนิลกสิณเป็นต้นอันบริสุทธิ์ด้วยดี.
               ในคำว่า สุภนฺเตว "งาม" ความผูกใจ "งาม" ย่อมไม่มีภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดกระทำสุภกสิณที่บริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์อยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูกท่านพูดว่าเป็นผู้น้อมใจไปว่า "งาม" ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงว่าเทศนาไว้อย่างนั้น
               แต่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะเป็นผู้น้อมใจไปว่างามนั้นอย่างไร?
               ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุในศาสนานี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่. เพราะความที่ตนเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่าเกลียด. มีจิตสหรคตกับกรุณา มุทิตาและอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่. เพราะความที่ตนเจริญ (กรุณา มุทิตาและ) อุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่าเกลียด. ท่านเป็นผู้ชื่อว่าน้อมใจไปว่างาม ด้วยอาการอย่างนี้
               คำใดที่จะพึงกล่าวในคำว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ ดังนี้เป็นต้น
               คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.
               บทว่า อยํ อฏฺฐโม วิโมกฺโข ความว่า นี้ชื่อว่าเป็นวิโมกข์ที่ ๘ เพราะสละ คือเพราะปล่อยขันธ์ทั้ง ๔ โดยประการทั้งปวง.

               จบอรรถกถาวิโมกขสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑ ๑๓. วิโมกขสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 162อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 163อ่านอรรถกถา 23 / 164อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=6445&Z=6459
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6124
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6124
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :