ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 183อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 185อ่านอรรถกถา 23 / 187อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ยมกวรรคที่ ๓
๑๘-๑๙. กุสีตวัตถุสูตร-อารัพภวัตถุสูตร

               อรรถกถากุสีตวัตถุสูตรที่ ๑๘ - อารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๙               
               อรรถกถากุสีตามรัพภวัตถุสูตรที่ ๑๐               
               กุสีตารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ วัตถุคือที่ตั้งแห่งคนเกียจคร้าน คือคนขี้เกียจ. อธิบายว่า เหตุแห่งความเกียจคร้าน.
               บทว่า กมฺมํ กตฺตพฺพํ โหติ ได้แก่ จำต้องทำงานมีการกะจีวรเป็นต้น.
               บทว่า น วีริยํ อารภติ ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียรทั้ง ๒ อย่าง.
               บทว่า อปฺปตฺตสฺส ได้แก่ เพื่อถึงธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลที่ยังไม่ถึง.
               บทว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรมคือฌานเป็นต้น นั้นนั่นแหละที่ยังไม่บรรลุ.
               บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม คือฌานเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.
               บทว่า อิทํ ปฐมํ ความว่า การท้อถอยอย่างนี้ว่า เอาเถิด เราจะนอน นี้เป็นกุสีตวัตถุเหตุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๑.
               พึงทราบความในทุกบทโดยนัยนี้.
               ก็ในบทว่า มาสาจิตํ มญฺเญ นี้มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
               ชื่อว่าจิตที่หลง เปรียบเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ. อธิบายว่า ถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำเป็นของหนักฉันใด ภิกษุก็เป็นผู้หนักฉันนั้น.
               บทว่า คิลานา วฏฺฐิโต โหติ ความว่า ภิกษุเป็นไข้ภายหลังหายไข้แล้ว.
               บทว่า อารพฺภวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร.
               พึงทราบความแห่งเหตุของความเพียรแม้นั้นโดยนัยนี้.
               คำที่เหลือในทุกบทง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถากุสีตวัตถุสูตรที่ ๑๘ - อารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๙               
               จบอรรถกถากุสีตามรัพภวัตถุสูตรที่ ๑๐               
               จบยมกวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ปฏิปทาสูตรที่ ๑
                         ปฏิปทาสูตรที่ ๒
                         ปฏิปทาสูตรที่ ๓
                         ปฏิปทาสูตรที่ ๔
                         ปฏิปทาสูตรที่ ๕
                         ปฏิปทาสูตรที่ ๖
                         อิจฉาสูตร
                         ลัจฉาสูตรที่ ๑
                         ลัจฉาสูตรที่ ๒
                         ลัจฉาสูตรที่ ๓
                         ลัจฉาสูตรที่ ๔
                         ลัจฉาสูตรที่ ๕
                         ลัจฉาสูตรที่ ๖
                         ลัจฉาสูตรที่ ๗
                         ลัจฉาสูตรที่ ๘
                         ปริหานสูตร
                         อปริหานสูตร
                         กุสีตวัตถุสูตร
                         อารัพภวัตถุสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ยมกวรรคที่ ๓ ๑๘-๑๙. กุสีตวัตถุสูตร-อารัพภวัตถุสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 183อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 185อ่านอรรถกถา 23 / 187อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=7061&Z=7142
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6311
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6311
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :