ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 43อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 44อ่านอรรถกถา 23 / 45อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕
๔. อัคคิสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยอัคคิสูตรที่ ๔               
               ทุติยอัคคิสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อุคฺคตสรีรสฺส ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์มหาศาลนั้นเป็นผู้สูงโดยอัตภาพ ถึงสารสมบัติโดยโภคะ เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏชื่อว่าพราหมณ์ผู้มีตัวสูง.
               บทว่า อุปกฺขโฏ ได้แก่ ตระเตรียม.
               บทว่า ถูณูปนีตานิ ได้แก่ นำเข้าไปสู่เสา กล่าวคือหลักการกระทำบูชายัญ.
               บทว่า ยญฺญตฺถาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การฆ่าบูชายัญ
               บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นจัดเตรียมเครื่องประกอบยัญทั้งหมดนั้นแล้ว คิดว่า
               ได้ยินว่า พระสมณะโคดมเป็นผู้มีปัญญามาก พระองค์จักตรัสสรรเสริญยัญของเราหรือหนอ หรือว่าตรัสติเตียน เราจักทูลถามถึงจะรู้ด้วยเหตุนั้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               บทว่า อคฺคิสฺส อาธานํ ความว่า การก่อไฟอันเป็นมงคล ๙ ประการเพื่อบูชายัญ. ด้วยบทว่า สพฺเพน สพฺพํ นี้ อุคคตสรีรพราหมณ์แสดงว่า สูตรทั้งหมดที่เราฟังมาแล้ว ย่อมเทียบเคียงกันได้ ย่อมเป็นอย่างเดียวกันกับสูตรทั้งหมด.
               บทว่า สตฺถานิ ความว่า ที่ชื่อว่าศาสตร์ เพราะเป็นเหมือนสัตรา โดยอรรถว่าเป็นเครื่องเบียดเบียน.
               บทว่า สยํ ปฐมํ สมารภติ ความว่า เริ่มด้วยตนเองก่อนทีเดียว.
               บทว่า หญฺญนฺตุ แปลว่า จงฆ่า.
               บทว่า ปริหาตพฺพา แปลว่า พึงบริหาร.
               บทว่า อิโต หยํ ตัดเป็น อิโต หิ มาตาปิติโต อยํ แปลว่า ผู้นี้เป็นฝ่ายมารดาและบิดา.
               บทว่า อาหุโต แปลว่า มาแล้ว.
               บทว่า สมฺภูโต แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.
               บทว่า อยํ วุจฺจติ พฺราหฺมณ คหปตคฺคิ ความว่า หมู่บุตรและภรรยาเป็นต้น ท่านเรียกว่าคหปตัคคิ เพราะเป็นเหมือนคหบดี เป็นเหมือนเจ้าเรือนเที่ยวไป.
               บทว่า อตฺตานํ ได้แก่จิต.
               บทว่า ทเมนฺติ ได้แก่ ย่อมฝึกด้วยการฝึกอินทรีย์.
               บทว่า สเมนฺติ ได้แก่ สงบด้วยการสงบราคะเป็นต้น. อธิบายว่า ย่อมดับกิเลสด้วยการให้กิเลสมีราคะเป็นต้นดับสนิทไป.
               บทว่า นิกฺขิปิตพฺโพ ความว่า พึงการไว้โดยประการที่จะไม่เสียหาย.
               บทว่า อุปวายตํ ความว่า จงฟุ้งขจรไป.
               ก็แลพราหมณ์ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว จึงมอบชีวิตแก่สัตว์ทั้งหมดนั้นแล้ว ทำลายโรงยัญ ประหนึ่งบ่อน้ำในศาสนาของพระศาสดาแล.

               จบ อรรถกถาทุติยอัคคิสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕ ๔. อัคคิสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 43อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 44อ่านอรรถกถา 23 / 45อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=980&Z=1066
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4082
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4082
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๘  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :