ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 48อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 49อ่านอรรถกถา 23 / 50อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕
๙. ทานสูตร

               อรรถกถาทานสูตรที่ ๙               
               ทานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สาเปกฺโข แปลว่า มีตัณหาความอยาก.
               บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตผูกพันในผลทาน.
               บทว่า สนฺนิธิเปกฺโข ได้แก่ ผู้มุ่งฝังจิตลงในทาน.
               บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ไปถึงโลกอื่นแล้ว.
               บทว่า ตํ กมฺมํ เขเปตฺวา ให้ผลของกรรมนั้นสิ้นไป.
               บทว่า อิทฺธํ ได้แก่ ฤทธิ คือวิบาก.
               บทว่า ยสํ ได้แก่ ความพรั่งพร้อมด้วยบริวาร.
               บทว่า อาธิปเตยฺยํ ได้แก่ เหตุแห่งความเป็นใหญ่.
               บทว่า อาคนฺตุ อิตฺถตฺตํ ความว่า ยังกลับมาเป็นอย่างนี้ คือกลับมาสู่ขันธปัญจกนี้ (ขันธ์ ๕) อีก. อธิบายว่า เขาจะไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก จะไม่ผุดเกิดขึ้นในภพสูงขึ้นไป แต่จะกลับมาภพเบื้องต่ำเท่านั้น.
               บทว่า สาหุ ทานํ ชื่อว่า ทานนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ดีงาม.
               บทว่า ตานิ มหายญฺญานิ ความว่า มหาทานเหล่านั้นสำเร็จด้วยเนยใส เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น.
               บทว่า จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ ความว่า เป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา.
               บทว่า พฺรหฺมกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ ความว่า เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็นเครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึงทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน.
               บทว่า อนาคามี โหติ ความว่า เป็นพระอนาคามีผู้ไม่กลับมา เพราะฌาน.
               บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถตฺตํ ความว่า ไม่กลับมาสู่ภาวะความเป็นอย่างนี้อีก ไม่ผุดเกิดในภพสูงๆ หรือไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.
               ดังนั้น บรรดาทานเหล่านี้ :-
               ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก
               ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง
               ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยความละอายและเกรงกลัว
               ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ
               ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล
               ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส
               ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับและเป็นบริวาร (แห่งจิต).

               จบ อรรถกถาทานสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕ ๙. ทานสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 48อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 49อ่านอรรถกถา 23 / 50อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=1340&Z=1436
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4141
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4141
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๘  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :