![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อุปกปฺปตุ แปลว่า บรรลุ. บทว่า ฐาเน ได้แก่ ในโอกาส. บทว่า โน อฏฺฐาเน ได้แก่ มิใช่ฐานะหามิได้. กรรมที่ให้บังเกิดในนรกนั่นแล ชื่อว่าอาหารของเหล่าสัตว์นรก ด้วยว่าเหล่าสัตว์นรกนั้นดำเนินไปได้ในนรกนั้น ก็ด้วยกรรมนั้นนั่นแล. ส่วนอาหารของเหล่าสัตว์เดียรัจฉาน ก็พึงทราบ คือใบหญ้าเป็นต้น. ของเหล่ามนุษย์ก็คือข้าวสุกขนมสดเป็นต้น ของทวยเทพก็คือสุทธาโภชน์อาหารทิพย์เป็นต้น ของเหล่าสัตว์ที่เกิดไปปิตติวิสัยแดนเปรตก็คือน้ำลาย น้ำมูกเป็นต้น. บทว่า ยํ วา ปนสฺส อิโต อนุปฺปเวจฺฉนฺติ ความว่า เหล่ามิตรเป็นต้นให้ทานส่งอุทิศผลบุญอันใดไปจากโลกนี้. เหล่าสัตว์ที่เกิดในปิตติวิสัยแดนเปรตเท่านั้น ย่อมเป็นอยู่ได้ด้วยผลบุญอันนั้น ที่บุคคลอื่นอุทิศไปให้. ผลบุญที่คนเหล่านั้นอุทิศให้ ไม่สำเร็จแก่สัตว์เหล่าอื่น. บทว่า ทายโกปิ อนิปฺผโล ความว่า ทานที่ถวายนั้นมุ่งหมายสัตว์ใด จะสำเร็จหรือไม่ก็ตามที ส่วนทายกก็ไม่อาจจะไร้ผล ทายกย่อมได้ผลแห่งทานนั้นโดยแท้. ในบทว่า อฏฺฐาเนปิ ภวํ โคตโม ปริกปฺปํ วทติ ชาณุสโสณีพราหมณ์ถามว่า เมื่อญาตินั้นไม่เกิดขึ้นในที่มิใช่โอกาส ท่านพระโคดมยังบัญญัติว่า ผลทานยังจะสำเร็จอยู่อีกหรือ. จริงอยู่ พราหมณ์มีลัทธิถือว่า ผลทานที่ให้อย่างนี้ ทายกผู้ให้ย่อมไม่ได้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัยปัญหาของชาณุสโสณีพราหมณ์นั้น เพื่อทรงแสดงว่า ธรรมดาทายกบังเกิดในสถานที่ๆ อาศัยผลบุญเลี้ยงชีวิตแห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมได้ผลแห่งทานทั้งนั้น จึงตรัสว่า อิธ พฺราหฺมณ เป็นต้น. บทว่า โส ตตฺถ ลาภี โหติ ความว่า ทายกนั้นแม้บังเกิดในกำเนิดช้าง กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานนั้น ก็ได้ตำแหน่งช้างมงคลหัตถี. แม้ในสัตว์มีม้าเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. จบอรรถกถาชาณุสโสณีสูตรที่ ๑๑ จบอรรถกถาชาณุสโสณีวรรคที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ชานุสโสณีวรรคที่ ๒ ๑๑. ชาณุสโสณีสูตร จบ. |