|
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙]    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒หน้าต่างที่ ๘ / ๙. ๘. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๒] ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อปฺปมาทรโร ภิกฺขุ เป็นต้น.
ภิกษุนั่งพิจารณาไฟไหม้ป่าเป็นอารมณ์
ดังได้สดับมา ภิกษุรูปนั้นเรียนกัมมัฏฐาน ตราบเท่าถึงพระอรหัตในสำนักพระศาสดาแล้ว
เข้าป่าเพียรพยายามอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัตได้.
ท่านนึกว่า เราจักไปทูลพระศาสดาให้ตรัสบอกกัมมัฏฐานให้วิเศษ (ขึ้นไป)
ดังนี้แล้ว ออกจากป่านั้น กำลังเดินมายังสำนักพระศาสดา เห็นไฟป่าตั้งขึ้น (ลุกลาม) มากมาย
ในระหว่างหนทาง รีบขึ้นยอดเขาโล้นลูกหนึ่ง นั่งดูไฟซึ่งกำลังไหม้ป่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า
ไฟนี้เผาเชื้อทั้งหลายมากและน้อยไป ฉันใด;
แม้ไฟคืออริยมรรคญาณ ก็จักพึงเผาสังโยชน์ทั้งหลายมากและน้อยไป ฉันนั้น.
ปฏิปทาตัดสังโยชน์
พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นแล ทรงทราบวาระจิตของเธอแล้ว
ตรัสว่า อย่างนั้นแล ภิกษุ สังโยชน์ทั้งหลายละเอียดและหยาบ ซึ่งเกิดอยู่ในภายในของสัตว์เหล่านี้
ดุจเชื้อมากบ้างน้อยบ้าง ฉะนั้น,
ควรเผาสังโยชน์เหล่านั้นด้วยไฟคือญาณเสียแล้ว ทำให้เป็นของไม่ควรเกิดอีก ดังนี้แล้ว
ทรงเปล่งพระรัศมี ปรากฏประหนึ่งว่า ประทับนั่ง ณ ที่จำเพาะหน้าของภิกษุนั้น
ตรัสพระคาถานี้ว่า
๘. | อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ | ปมาเท ภยทสฺสิ วา
| | สญฺโญชนํ อณุ ํ | ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.
| | ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือมีปกติ
| | เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์ ทั้ง
| | ละเอียดและหยาบไป ดุจไฟเผาเชื้อมากและ
| | น้อยไปฉะนั้น. |
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทรโต ความว่า ยินดี คืออภิรมย์ แล้วในความไม่ประมาท
ได้แก่ยังกาลให้ล่วงไปด้วยความไม่ประมาท.
บาทพระคาถาว่า ปมาเท ภยทสฺสิ วา ความว่า ผู้เห็นภัยในความประมาท มีการเข้าถึงนรกเป็นต้น,
อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าผู้เห็นความประมาทโดยความเป็นภัย เพราะความประมาทนั้นเป็นรากเหง้าแห่งความอุบัติเหล่านั้น.
บทว่า สญฺโญชนํ ความว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่าง๑-
เป็นเครื่องประกอบ เครื่องผูก (หมู่สัตว์) ไว้กับทุกข์ในวัฏฏะ สามารถยังสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะได้.
____________________________
๑- สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน ๑
วิจิกิจฉา ความลังเล ไม่แน่ใจ ๑
สีลัพพตปรามาส ความลูบคลำศีลและพรต ๑
กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสการ ๑
ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ๑ รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม ๑
อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๑ มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ๑
อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑ อวิชชา ความหลงเป็นเหตุไม่รู้จริง ๑.
บทว่า อณุ ํ ถูลํ คือมากและน้อย.
บาทพระคาถาว่า ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ความว่า ภิกษุนั้นยินดีแล้วในความไม่ประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์นั่นด้วยไฟคือญาณ ซึ่งตนบรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท คือทำให้เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีกต่อไป
ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อยนั้นแลไปฉะนั้น.
ในกาลจบคาถา ภิกษุนั้นนั่งอย่างเดิมเทียว เผาสังโยชน์ทั้งหมดแล้ว
บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย มาทางอากาศ (เหาะมา)
ชมเชยสรรเสริญพระสรีระของพระตถาคต ซึ่งมีพรรณะดุจทองคำแล้ว ถวายบังคมหลีกไป ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ. .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒ อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙]
     อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=330&Z=365 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=19&A=1 The Pali Atthakatha in Roman http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=19&A=1 - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
|