บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] ๑.เรื่องพระเมฆิยเถระ [๒๔] ข้อความเบื้องต้น พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ ____________________________ ๑- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘๕-๘๙ ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่านถูกวิตก ๓ อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอนอยู่ว่า เมฆิยะ เราเป็นผู้ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูปแม้อื่นจะปรากฏ ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า) ทำกรรมอันหนักยิ่ง, ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป) เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร ดังนี้แล้ว จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา ๒ พระคาถาเหล่านี้ว่า
แก้อรรถ บทว่า จปลํ ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือนทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะนั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิต เพราะเป็นธรรม บทว่า ทุรกฺขํ ความว่า ชื่อว่าอันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์ อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอยเคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น. บทว่า ทุนฺนิวารยํ ความว่า ชื่อว่าอันบุคคลห้ามได้ยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่รักษาได้ยาก เพื่อจะห้าม (กัน) จิตอันไปอยู่สู่วิสภาคารมณ์. สองบทว่า อุสุกาโรว เตชนํ ความว่า นายช่างศรนำเอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งมาจากป่าแล้ว ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก) แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ทำให้หายคดคือให้ตรง ให้เป็นของควรที่จะยิงขนทรายได้. ก็แลครั้นทำแล้ว จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์ ย่อมได้สักการะและความนับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด, บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ได้แก่ผู้รู้แจ้ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทำจิตนี้ อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น ให้หมดเปลือก คือให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์ และการอยู่ในป่า แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คด ได้แก่ให้สิ้นพยศ, ก็แลครั้นทำแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้ คือ วิชชา ๓#๑- อภิญญา ๖#๒- โลกุตรธรรม ๙#๓- ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ. บทว่า วาริโชว แปลว่า ดุจปลา. สองบทว่า ถเล ขิตฺโต ได้แก่ อันพรานเบ็ดซัดไปบนบก ด้วยมือ เท้า หรือด้วยเครื่องดักมีตาข่ายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. ____________________________ #๑- วิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้ ๑ จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๑ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป ๑ #๒- อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ ๑ ทิพโสต หูทิพย์ ๑ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด ใจผู้อื่นได้ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ ๑ ทิพยจักขุ ตาทิพย์ ๑ อาสวักขยญาณ รู้จัก ทำอาสวะให้สิ้นไป ๑. #๓- โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑. พึงทราบวินิจฉัยในบาทพระคาถาว่า โอกโมกตอุพฺภโต (ดังต่อไปนี้) :- น้ำ ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา มีจีวรชุ่มด้วยน้ำ ได้มาสู่เมืองสาวัตถี เพื่อประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา.๑- อาลัย ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า มุนีละอาลัยแล้ว ไม่ติดที่อยู่.๒- แม้คำทั้งสองก็ย่อมได้ในบาทพระคาถานี้. ในบทว่า โอกโมกโต นี้ มีเนื้อความ (อย่าง) นี้ว่า จากที่อยู่คือน้ำ คือจากอาลัยกล่าวคือน้ำ, ____________________________ ๑- วิ. มหาวรรค. ภาค ๒. เล่ม ๕/ข้อ ๙๕ ๒- สัง. ขันธ. เล่ม ๑๗/ข้อ ๑๑. บทว่า อุพฺภโต แปลว่า อันพรานเบ็ดยกขึ้นแล้ว. บาทพระคาถาว่า ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ ความว่า จิตนี้ คือที่ยินดีแล้วในอาลัยคือกามคุณ ๕ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือกามคุณ ๕ นั้น ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน เผาด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต เพื่อละวัฏฏะ กล่าวคือ บ่วงมาร ย่อมดิ้นรน คือย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นได้, เหมือนอย่างปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรนฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารคือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสีย คือควรละบ่วงมาร กล่าวคือกิเลสวัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล. ในกาลจบคาถา พระเมฆิยเถระได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ชนแม้พวกอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้นดังนี้แล. เรื่องพระเมฆิยเถระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ |