บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๕ / ๙. ข้อความเบื้องต้น เขาเที่ยวตามโคจนอ่อนเพลีย ก็ในสมัยนั้นแล ภัตอันเหลือจากภิกษุทั้งหลายฉัน ยังมีอยู่ในถาดสำหรับใส่ภัตอันเป็นเดน. ภิกษุเหล่านั้นเห็นเขาถูกความหิวรบกวนแล้ว จึงกล่าวว่า เชิญท่านถือเอาภัตกินเถิด, ก็ชื่อว่าในครั้งพุทธกาล แกงและกับมากมายย่อมเกิดขึ้น, เขารับภัตพอเยียวยาอัตภาพจากถาดนั้นบริโภคแล้ว ดื่มน้ำ ล้างมือ ไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว ถามว่า ท่านขอรับ วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ไปสู่ที่นิมนต์แล้วหรือ? ภิกษุทั้งหลายตอบว่า อุบาสก วันนี้ ไม่มี, ภิกษุทั้งหลายย่อมได้ (ภัตตาหาร) เนืองๆ โดยทำนองนี้เทียว. เขาบวชเป็นภิกษุ ลำดับนั้น พวกภิกษุพูดกะเขาว่า เป็นการดี อุบาสก ให้เขาบรรพชาแล้ว. เขาได้อุปสมบทแล้ว ทำวัตรและปฏิวัตร ซึ่งเป็นอุปการะแก่ภิกษุทั้งปวง. เธอได้มีสรีระอ้วนท้วนโดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน เพราะลาภและสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธะทั้งหลาย.๑- ____________________________ ๑- ใช้ศัพท์ว่า พุทฺธานํ ในที่นี้ น่าจะหมายถึงพระสัมพุทธะ และอนุพุทธะหรือพระสาวกพุทธะ. เขาบวชๆ สึกๆ ถึง ๖ ครั้ง ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายให้เขาบรรพชาอีกแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ, เขาบวชแล้วก็สึกอยู่อย่างนี้ถึง ๖ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ภิกษุนี่ เป็นไปในอำนาจแห่งจิตเที่ยวไปอยู่ จึงขนานนามแก่เธอว่า จิตตหัตถเถระ ครั้งที่ ๗ เขาเกิดธรรมสังเวชเลยบวชไม่สึก เขาคิดว่า สรีระนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. เราบวชตลอดกาลประมาณเท่านี้แล้ว อาศัยสรีระนี้ จึงไม่สามารถดำรงอยู่ในภิกษุภาวะได้ ดังนี้แล้ว ก็ฉวยผ้ากาสาวะพันท้อง พลางออกจากเรือน. ขณะนั้น แม่ยายของเขายืนอยู่ที่เรือนติดต่อกัน เห็นเขากำลังเดินไป ลูกสาวกล่าวว่า หลีกไป หลีกไปเถิดแม่ เขาจะไปข้างไหน, อีก ๒-๓ วันเท่านั้น ก็มาอีก. แม้นายจิตตหัตถ์นั้น บ่นไปว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ กำลังเดินไปๆ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. เขาไปไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว ก็ขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า พวกเราจักไม่อาจให้ท่านบรรพชาได้, ความเป็นสมณะของท่านจักมีมาแต่ที่ไหน? ศีรษะของท่านเช่นกับหินลับมีด. เขากล่าวว่า ท่านขอรับ พวกท่านโปรดอนุเคราะห์ให้กระผมบวชในคราวนี้อีกคราวหนึ่งเถิด. ภิกษุเหล่านั้นจึงให้เขาบวชแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ. บรรลุพระอรหัตแล้วถูกหาว่าพูดไม่จริง ภิกษุแม้เหล่านั้นพูดกับเธอว่า คุณจิตตหัตถ์ คุณควรรู้สมัยที่คุณจะไปโดยแท้. ทำไมในครั้งนี้ คุณจึงชักช้าอยู่เล่า? เธอกล่าวว่า พวกผมไปแล้วในเวลาที่มีความเกี่ยวข้อง๑- ดอก ขอรับ ความเกี่ยวข้องนั้น ผมตัดได้แล้ว, ต่อไปนี้ พวกผมมีความไม่ไปเป็นธรรมดา. ____________________________ ๑- หมายถึง กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง. พวกภิกษุพากันไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ถูกพวกข้าพระองค์พูดอย่างนี้ กล่าวชื่ออย่างนี้ เธอพยากรณ์พระอรหัต เธอพูดคำไม่จริง. พระศาสดาตรัสว่า อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราได้ทำการไปและการมา ในเวลาไม่รู้พระสัทธรรม ในเวลาที่ตนยังมีจิตไม่มั่นคง, บัดนี้ บุตรของเรานั่นละบุญและบาปได้แล้ว ได้ตรัสสองพระคาถาเหล่านี้ว่า
แก้อรรถ พระศาสดาทรงแสดงเนื้อความว่า ชื่อว่าจิตนี้ ของใครๆ ไม่มีแน่นอนหรือมั่นคง; ก็บุคคลใด ไม่ดำรงอยู่ในภาวะไหนๆ เหมือนกับฟักเขียวที่ตั้งไว้บนหลังม้า เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ เหมือนกับดอกกระทุ่มบนศีรษะล้าน, บางคราวเป็นเสวก บางครั้งเป็นอาชีวก บางคาบเป็นนิครนถ์ บางเวลาเป็นดาบส, บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่มั่นคง, ปัญญาอันเป็นกามาพจรก็ดี อันต่างด้วยปัญญามีรูปาพจรเป็นอาทิก็ดี ย่อมไม่บริบูรณ์แก่บุคคลนั้น ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรมนี้ อันต่างโดยโพธิปักขิยธรรม ๓๗#- ชื่อว่ามีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย เพราะความเป็นผู้มีศรัทธาน้อย หรือเพราะความเป็นผู้มีศรัทธาคลอนแคลน, เมื่อปัญญา แม้เป็นกามาพจรไม่บริบูรณ์ ปัญญาที่เป็นรูปาพจร อรูปาพจรและโลกุตระจักบริบูรณ์ได้แต่ที่ไหนเล่า? บทว่า อนวสฺสุตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตอันราคะไม่ชุ่มแล้ว. ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่จิตถูกโทสะกระทบแล้ว ไว้ในอาคตสถานว่า๒- "มีจิตถูกโทสะกระทบเกิดเป็นดังเสาเขื่อน." ____________________________ #- มีธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ๓๗ เป็นประเภท. ๒- ที่แห่งบาลีประเทศอันมาแล้ว. อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๙๘๑-๙๘๒. ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๒๘. แต่ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า "ผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ." บทว่า ปญฺญปาปปหีนสฺส ความว่า ผู้ละบุญและบาปได้ด้วยมรรคที่ ๔ คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว. บาทพระคาถาว่า นตฺถิ ชาครโต ภยํ ความว่า ความไม่มีภัย ดูเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับท่านผู้สิ้นอาสวะ ตื่นอยู่แล, ก็ท่านผู้สิ้นอาสวะนั้น ชื่อว่าตื่นแล้ว เพราะประกอบด้วยธรรมเป็นเหตุตื่นทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นอาทิ, เพราะฉะนั้น ท่านตื่นอยู่ (ตื่นนอน) ก็ตาม ยังไม่ตื่น (ยังนอนหลับ) ก็ตาม ภัย คือกิเลส ชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะกิเลสทั้งหลายไม่มีการหวนกลับมา, จริงอยู่ กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมไม่ติดตามท่าน เพราะกิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้แล้วด้วยมรรคนั้นๆ ไม่มีการเข้าไปหา (ท่าน) อีก, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค, เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก, กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค, เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก" ดังนี้. เทศนาได้มีประโยชน์มีผลแก่มหาชนแล้ว. กิเลสทำผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้เศร้าหมองได้ พระศาสดาทรงสดับประวัติกถาของภิกษุเหล่านั้น จึงเสด็จไปสู่ธรรมสภา ด้วยการไปอันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับบนพุทธอาสน์แล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยถ้อยคำอะไรหนอ?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" แล้ว จึงตรัสว่า "อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย ย่อมเป็นสภาพหยาบ, ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใครๆ พึงสามารถจะเก็บไว้ได้ในที่บางแห่ง, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหมโลกก็ต่ำเกินไป, โอกาสของกิเลสเหล่านั้นไม่พึงมี (บรรจุ) เลย, อันกิเลสเหล่านี้ ย่อมทำบุรุษอาชาไนยที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา แม้เช่นกับเราให้มัวหมองได้ จะกล่าวอะไรในเหล่าชนที่เหลือ; จริงอยู่ เราเคยอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน บวชสึกแล้ว ๖ ครั้ง." ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลถามว่า "ในกาลไร? พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า "จักฟังหรือ? ภิกษุทั้งหลาย." ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า "ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง" ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า) :- เรื่องบัณฑิตจอบเหี้ยน ____________________________ ๑- วสฺสารตฺตสมเย. ในเรือนของเรายังมีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน (อีกอันหนึ่ง), พืชคือข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่าเสียไป จึงสึก เอาจอบเหี้ยนพื้นที่แห่งหนึ่ง หว่านพืชนั้น ทำรั้วไว้ ในเวลาที่เมล็ดพืชแก่ก็เกี่ยว เก็บพืชไว้ประมาณทะนาน ท่านคิดว่า บัดนี้ ประโยชน์อะไรด้วยเรือนของเรา, เราจักบวชอีก ๘ เดือน จึงออกบวชแล้ว. ท่านอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงหนึ่งทะนานและจอบเหี้ยน เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง โดยทำนองนี้แล แต่ในครั้งที่ ๗ คิดว่า เราอาศัยจอบเหี้ยนอันนี้ เป็นคฤหัสถ์แล้วบวชถึง ๗ ครั้ง, เราจักทิ้งมันในที่ไหนๆ สักแห่งหนึ่ง. ท่านไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า เราเมื่อเห็นที่ตก คงต้องลงงมเอา; เราจักทิ้งมันโดยอาการที่เราจะไม่เห็นที่ซึ่งมันตก จึงเอาผ้าเก่าห่อพืชประมาณทะนานหนึ่ง แล้วผูกผ้าเก่าที่แผ่นจอบจับจอบที่ปลายด้าม ยืนที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ หลับตาแกว่งเวียนเหนือศีรษะ ๓ ครั้ง ขว้างไปในแม่น้ำคงคา หันไปดู ไม่เห็นที่ตกได้เปล่งเสียงว่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว ดังนี้ ๒ ครั้ง. ในขณะนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงปราบปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จมา โปรดให้ตั้งค่ายพัก๑- ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เสด็จลงสู่แม่น้ำเพื่อทรงประสงค์จะสรงสนาน ได้ทรงสดับเสียงนั้น. ก็ธรรมดาว่า เสียงที่ว่า เราชนะแล้วเราชนะแล้ว ย่อมไม่พอพระหฤทัยของพระราชาทั้งหลาย. พระองค์จึงเสด็จไปยังสำนักของกุททาลบัณฑิตนั้น ตรัสถามว่า เราทำการย่ำยีอมิตรมาเดี๋ยวนี้ ก็ด้วยคิดว่า เราชนะ ส่วนเธอร้องว่า เราชนะแล้วเราชนะแล้ว, นี้ชึ่อเป็นอย่างไร? ____________________________ ๑- ขนฺธาวารํ ประเทศเป็นที่กั้นด้วยท่อนไม้. กุททาลบัณฑิตจึงทูลว่า พระองค์ทรงชนะพวกโจรภายนอก, ความชนะที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ย่อมกลับเป็นไม่ชนะอีกได้แท้, ส่วนโจรคือความโลภ ซึ่งมีในภายใน อันข้าพระองค์ชนะแล้ว, โจรคือความโลภนั้น จักไม่กลับชนะข้าพระองค์อีก ชนะโจรคือความโลภนั้นอย่างเดียวเป็นดี ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า๑- ความชนะใด กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นมิใช่ความชนะที่ดี, (ส่วน) ความชนะใด ไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี. ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๗๐; อรรถกถา ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๗๐. ในขณะนั้นเอง ท่านแลดูแม่น้ำคงคา ยังกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์ให้บังเกิด บรรลุคุณพิเศษแล้ว นั่งในอากาศโดยบัลลังก์. พระราชาทรงสดับธรรมกถาของพระมหาบุรุษ ไหว้แล้ว ทรงขอบวช ทรงผนวชพร้อมกับหมู่พล. ได้มีบริษัทประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว. แม้กษัตริย์สามันตราชอื่น๒- ทรงสดับความที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนั้นผนวชแล้ว เสด็จมาด้วยประสงค์ว่า เราจักยึดเอาพระราชสมบัติของพระเจ้ากรุงพาราณสีนั้น ทรงเห็นพระนครที่มั่งคั่งอย่างนั้นว่างเปล่า จึงทรงดำริว่า พระราชา เมื่อทรงทิ้งพระนครเห็นปานนี้ผนวช จักไม่ทรงผนวชในฐานะอันต่ำช้า, ถึงเราผนวชก็ควร ดังนี้แล้ว เสด็จไปในที่นั้น เข้าไปหาพระมหาบุรุษ ทรงขอบวช ทรงผนวชพร้อมกับบริษัทแล้ว. พระราชา ๗ พระองค์ทรงผนวชโดยทำนองเดียวกันนี้. ได้มีอาศรมตั้งแผ่ไปถึง ๗ โยชน์. พระราชา ๗ พระองค์ก็ทรงทิ้งโภคะทั้งหลาย พาชนมีประมาณเท่านี้บวชแล้ว. พระมหาบุรุษอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๓- เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว. พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กุททาล เรื่องพระจิตตหัตถเถระ จบ. ๒- สามนฺตราชา พระราชาผู้อยู่ในเมืองใกล้เคียงกัน พระราชาโดยรอบ พระราชาใกล้เคียง. ๓- ความอยู่ในพรหมจรรย์ ความอยู่เพื่อพรหมจรรย์. ๔- สี. ม. ยุ. อโหสึ. .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ |