บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๖ / ๙. ข้อความเบื้องต้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปอยู่ในไพรสณฑ์ ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้นแล้ว. เทวดาทำอุบายหลอนภิกษุ แต่นั้นมา พวกเทวดาคิดว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลายเห็นจักอยู่ในที่นี้นั่นแล ตลอด ๓ เดือนนี้, ก็เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในที่นี้ทีเดียวแล พวกเราแม้จะขึ้นนั่งบนต้นไม้ ก็ไม่ควร ถึงสถานที่จะพาเอาพวกบุตรและภาดานั่งบนพื้นดินทั้ง ๓ เดือน ก็เป็นทุกข์ของพวกเรา, พวกเราทำอะไรๆ ให้ภิกษุเหล่านี้หนีไปได้จะเหมาะ, เทวดาเหล่านั้นเริ่มแสดงร่างผีหัวขาด และให้ได้ยินเสียงอมนุษย์ ในที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน และในที่สุดของที่จงกรมนั้นๆ โรคทั้งหลายมีจามไอเป็นต้น เกิดแก่พวกภิกษุแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นถามกันและกันว่า "ผู้มีอายุ โรคอะไรเสียดแทงคุณ? โรคอะไรเสียดแทงคุณ?" กล่าวว่า "โรคจามเสียดแทงผม, โรคไอเสียดแทงผม" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ผู้มีอายุ วันนี้ ผมได้เห็นร่างผีหัวขาดในที่สุดที่จงกรม, ผมได้เห็นร่างผีในที่พักกลางคืน, ผมได้ยินเสียงอมนุษย์ในที่พักกลางวัน, ที่นี้เป็นที่ควรเว้น, ในที่นี้ ความไม่ผาสุกมีแก่พวกเรา, พวกเราจักไปที่สำนักของพระศาสดา." ภิกษุเหล่านั้นออกไปสู่สำนักของพระศาสดาโดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาประทานอาวุธ ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า อารมณ์อันน่ากลัวเห็นปานนี้ ปรากฎแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้พำนักอยู่ในที่นั้น, เพราะเหตุนั้น จึงมีความไม่ผาสุกเห็นปานนี้. ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงคิดว่า "ที่นี้ เป็นที่ควรเว้น." ทิ้งที่นั้นมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว. พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปในที่นั้นนั่นแลสมควร. ภิกษุ. ไม่อาจ พระเจ้าข้า. พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่เอาอาวุธไป, บัดนี้ พวกเธอจงเอาอาวุธไปเถิด. ภิกษุ. ถือเอาอาวุธชนิดไหนไป? พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า "เราจักให้อาวุธแก่พวกเธอ พวกเธอจงถือเอาอาวุธที่เราให้ไป" ดังนี้แล้ว ตรัสเมตตสูตรทั้งสิ้นว่า "ผู้รู้สันตบท (บทอันสงบ) พึงกระทำสิกขา ๓ หมวดใด, ผู้ฉลาดในประโยชน์ ควรกระทำสิกขา ๓ หมวดนั้น ผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเป็นผู้องอาจ เป็น ผู้ตรง เป็นผู้ซื่อตรง เป็นผู้อ่อนโยน เป็นผู้ไม่ทะนงตัว." เป็นอาทิ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสาธยายเมตตสูตรนี้ จำเดิมแต่ไพรสณฑ์ภายนอกวิหาร เข้าไปสู่ภายในวิหาร" ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระศาสดา ออกไปถึงไพรสณฑ์นั้นโดยลำดับ พากันสาธยายเป็นหมู่ในภายนอกวิหาร เข้าไปสู่ เทวดากลับได้เมตตาจิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคาถากำชับ ตรัสพระคาถานี้ว่า
____________________________ ๑- ฐเปตฺวา. ๒- อรรถกถา ว่า อนิเวสโน. แก้อรรถ บาทพระคาถาว่า นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า ธรรมดานครมีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน ๔ แพร่ง มีร้านตลาดในระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิดว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระท้อนกลับไป ฉันใด, กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนาจิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้นๆ พึงฆ่าด้วยอาวุธ คือปัญญาอันสำเร็จแล้วด้วยวิปัสสนา และสำเร็จแล้วด้วยอริยมรรค ชื่อว่าพึงรบ คือพึงประหารกิเลสมารนั้น ดุจนักรบยืนอยู่ในนคร รบหมู่โจรด้วยอาวุธมีประการต่างๆ มีอาวุธมีคมข้างเดียวเป็นต้น ฉะนั้น" สองบทว่า ชิตญฺจ รกฺเข ความว่า กุลบุตร เมื่อต้องเสพอาวาสเป็นที่สบาย ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และการฟังธรรมเป็นเหตุสบายเป็นต้น เข้าสมาบัติในระหว่างๆ ออกจากสมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตหมดจด ชื่อว่าพึงรักษาธรรมที่ชนะแล้ว คือวิปัสสนาอย่างอ่อนที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว. สองบทว่า อนิเวสโน สิยา ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่มีอาลัย. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า นักรบทำซุ้มเป็นที่พักพลในภูมิประเทศเป็นที่ประชิดแห่งสงคราม๑- รบอยู่กับพวกอมิตร เป็นผู้หิวหรือกระหายแล้ว เมื่อเกราะหย่อน หรือเมื่ออาวุธพลัดตก ก็เข้าไปยังซุ้มเป็นที่พักพล พักผ่อน กิน ดื่ม ผูกสอด (เกราะ) จับอาวุธแล้วออกรบอีก ย่ำยีเสนาของฝ่ายอื่น ชนะปรปักษ์ที่ยังมิได้ชนะ รักษาชัยชนะที่ชนะแล้ว. ก็ถ้าว่านักรบนั้น เมื่อพักผ่อนอย่างนั้นในซุ้มเป็นที่พักพล ยินดีซุ้มเป็นที่พักพลนั้น พึงพักอยู่ ก็พึงทำรัชสมบัติให้เป็นไปในเงื้อมมือของปรปักษ์ฉันใด, ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตอันหมดจด ย่อมสามารถรักษาวิปัสสนาอย่างอ่อน ที่ได้เฉพาะแล้ว ย่อมชนะกิเลสมาร ด้วยความได้เฉพาะซึ่งมรรคอันยิ่ง, ก็ถ้าว่า ภิกษุนั้นย่อมพอใจสมาบัติอย่างเดียว ไม่หมั่นพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตอันหมดจด ย่อมไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรคและผลได้, เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรักษาธรรมที่ควรรักษา พึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ คือพึงทำสมาบัติให้เป็นที่เข้าพักแล้วไม่ติดอยู่ ได้แก่ไม่พึงทำอาลัยในสมาบัตินั้น. พระศาสดาตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงทำอย่างนั้น" พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. ____________________________ ๑- สงฺคามสีเส ในสีสประเทศแห่งสงคราม คือในสมรภูมิหรือสนามรบ ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั่งในที่นั่งเทียว บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สรรเสริญชมเชยทั้งถวายบังคมพระสรีระอันมีวรรณะเพียงดังทองของพระตถาคต มาแล้ว ดังนี้แล. เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ |