บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] หน้าต่างที่ ๖ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น ชาวบ้านสรรเสริญธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า นางอยากไปฟังธรรมแต่ไม่สมประสงค์ อาชีวกนั้นห้ามว่า "อย่าไปเลย" แล้วก็เลยห้ามนางแม้ผู้อ้อนวอนอยู่แล้วๆ เล่าๆ เสียทีเดียว. นางคิดว่า "พระผู้เป็นเจ้านี้ ไม่ให้เราไปวิหารฟังธรรม, เราจักนิมนต์พระศาสดามา แล้วฟังธรรมในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว ในเวลาเย็น จึงเรียกบุตรชายมาแล้วส่งไปด้วยคำว่า "เจ้าจงไป, จงนิมนต์พระศาสดามาเพื่อเสวยภัตตาหารพรุ่งนี้." บุตรชายนั้น เมื่อจะไป ก็ไปที่อยู่ของอาชีวกก่อน ไหว้อาชีวกแล้วนั่ง. ทีนั้น อาชีวกนั้นถามเขาว่า "เธอจะไปไหน?" บุตร. ผมจะไปนิมนต์พระศาสดาตามคำสั่งของคุณแม่. อาชีวก. อย่าไปสำนักของพระองค์เลย. บุตร. ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า, ผมจักไป. อาชีวก. เราทั้งสองคน จักกินเครื่องสักการะที่คุณแม่ของเธอทำถวายพระศาสดานั่น, อย่าไปเลย. บุตร. ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า, คุณแม่จักดุผม. อาชีวก. ถ้ากระนั้นก็ไปเถิด, ก็แล ครั้นไปแล้ว จงนิมนต์ (แต่) อย่าบอกว่า พระองค์พึงเสด็จไปเรือนของพวกข้าพระองค์ในที่โน้น ในถนนโน้น หรือโดยหนทางโน้น (ทำ) เป็นเหมือนยืนอยู่ในที่ใกล้ เหมือนจะไปโดยหนทางอื่น จงหนีมาเสีย. บุตรชายทำตามคำของอาชีวก พวกคนในบ้านพาอาชีวกนั้นให้ไปนั่งที่ห้องหลัง, พวกมนุษย์คุ้นเคยฉาบทาเรือนนั้นด้วยโคมัยสด โปรยดอกไม้ซึ่งมีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ลง แล้วปูลาดอาสนะอันควรแก่ค่ามาก เพื่อประโยชน์แก่การประทับนั่งของพระศาสดา. จริงอยู่ พวกมนุษย์ที่ไม่คุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า ย่อมไม่รู้จักการปูลาดอาสนะ. พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยือนอุบาสิกา เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรแล้ว จึงเสด็จไปสู่ประตูเรือนของมหาอุบาสิกา อุบาสิกาประสงค์จะให้พระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา จึงรับบาตรแล้ว. อุบาสิกาฟังธรรมแล้วถูกอาชีวกด่า อุบาสิกามีจิตฟุ้งซ่าน ____________________________ ๑- อญฺญถตฺตํ แปลตามศัพท์ว่า ซึ่งความเป็นอย่างอื่น. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "อุบาสิกา เธอไม่อาจทำจิตให้ไปตาม (แนว) เทศนา อุบาสิกา. พระเจ้าค่ะ เพราะถ้อยคำของอาชีวกนี้ จิตของข้าพระองค์เข้าถึงความฟุ้งซ่านเสียแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า "ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาคกันเห็นปานนี้กล่าว, การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้น จึงควร" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บาทพระคาถาว่า น ปเรสํ กตากตํ ความว่า ไม่ควรแลดูกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำแล้วของคนเหล่าอื่น อย่างนี้ว่า "อุบาสกโน้นไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส, แม้วัตถุมีภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้นในเรือน เขาก็ไม่ให้, สลากภัตเป็นต้น เขาก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ไม่มีแก่อุบาสกนั่น; อุบาสิกาโน้นก็เหมือนกัน ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส, ภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น ในเรือน นางก็ไม่ให้, สลากภัตเป็นต้นก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ก็ไม่มีแก่อุบาสิกานั้น, ภิกษุโน้นก็เช่นกัน ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทั้งไม่ทำอุปัชฌายวัตร, ไม่ทำอาจริยวัตร, ไม่ทำอาคันตุกวัตร, ไม่ทำวัตรเพื่อภิกษุผู้เตรียมจะไป, ไม่ทำวัตรที่ลานพระเจดีย์, ไม่ทำวัตรในโรงอุโบสถ, ไม่ทำวัตรที่หอฉัน, ไม่ทำวัตรมีวัตรในเรือนไฟเป็นอาทิ, ทั้งธุดงค์ไรๆ ก็ไม่มีแก่เธอ แม้เหตุสักว่าความอุตสาหะ เพื่อความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ก็ไม่มี." บาทพระคาถาว่า อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย ความว่า กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อระลึกถึงโอวาท๑- นี้ว่า "บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่" ดังนี้แล้ว ก็พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนอย่างนี้ว่า "เราไม่อาจจะยกตนขึ้นสู่ไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วทำให้เกษมจากโยคะ หรือหนอ?" ในกาลจบเทศนา อุบาสิกาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล. ____________________________ ๑- อัง. ทสก. เล่ม ๒๔/ข้อ ๔๘. เรื่องปาฏิกาชีวก จบ. ------------------------------------------------ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔ |