บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ยาวกีวํ แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า ยโต ความว่า ในกาลใด คือตั้งแต่เวลาใด หรือว่าในกาลใด. ด้วยบทว่า เอวเมตํ อานฺนท พระองค์ทรงแสดงว่า อานนท์ ข้อที่เธอกล่าวว่า เมื่อตถาคตอุบัติขึ้น ลาภและสักการะย่อมเจริญยิ่งแก่ตถาคตและแก่สาวกของตถาคตเท่านั้น ส่วนพวกเดียรถีย์เป็นผู้ไร้เดช หมดรัศมี เสื่อมลาภและสักการะนั่น ย่อมเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นหากลายเป็นอย่างอื่นไม่. จริงอยู่ เมื่อจักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ สัตวโลกละจักรรัตนะ ไม่ทำการบูชาสักการะและสัมมานะ ให้เป็นไปในที่อื่น แต่สัตวโลกทั้งมวล จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์บังเกิดขึ้นในโลกตามลำดับ จึงทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ เพื่อจาริกไปตามชนบท พระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ให้ชฎิล ๑,๐๐๐ คนมีอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า ดำรงอยู่ในพระอรหัต แวดล้อมไปด้วยพระอรหันต์เหล่านั้น ประทับนั่งที่สวนตาลหนุ่ม ทำชนชาวอังคะและมคธ ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ประมาณได้ ๑๒๐,๐๐๐ คนให้หยั่งลงในพระศาสนา ในคราวที่พระองค์ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. จำเดิมแต่นั้น ลาภและสักการะของเดียรถีย์ทุกจำพวก ย่อมกลับเสื่อมลงทีเดียว โดยประการที่ลาภและสักการะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งพักในที่พักกลางวัน พิจารณาถึงสัมมาปฏิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอริยสงฆ์ เกิดปีติและโสมนัส จึงรำพึงถึงข้อปฏิบัติของเดียรถีย์เหล่านั้นว่า การปฏิบัติของพวกเดียรถีย์เป็นอย่างไรหนอ. ลำดับนั้น การปฏิบัติชั่วแม้โดยประการทั้งปวงของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ปรากฏแล้วแก่ท่านพระอานนท์. ท่านพระอานนท์คิดว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่ามีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ผู้บรรลุพระบารมีอย่างสูงสุดแห่งอุปนิสัยของบุญ และสัมมาปฏิบัติ และเมื่อพระอริยสงฆ์ยังทรงอยู่ พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้จึงปฏิบัติชั่วถึงอย่างนี้ ไม่เคยทำบุญ เป็นดังคนกำพร้า จึงจักมีลาภ เป็นผู้อันเขาสักการะอย่างไร จึงเกิดความกรุณาในการเสื่อมลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ขึ้น. ต่อนั้น จึงได้กราบทูลความปริวิตกของตน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสกะเธอว่า อานนท์ เธอมีความปริวิตกผิดไปแล้ว ดังนี้แล้ว จึงตั้งพระศอขึ้นตรง เช่นกับกลองทอง ทรงกระทำพระพักตร์ให้อิ่มเอิบอันงดงามปานดอกบัวที่บานสะพรั่ง ให้น่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทรงร่าเริงว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น อานนท์ แล้วทรงอำนวยตามคำของพระอานนท์ โดยนัยมีอาทิว่า ยาวกีวญฺจ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ และพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นเมื่อเกิดเหตุแห่งเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพาเวรุชาดกว่า๑- แม้ในอดีตกาล เรายังไม่อุบัติขึ้น ชนชั้นต่ำบางพวกได้ความนับถือเป็นอันมาก ตั้งแต่เราอุบัติแล้ว อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้เป็นผู้เสื่อมลาภและสักการะ. ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๖๕๔ บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่ง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสติ ตาว โส กิมิ ความว่า หิ่งห้อยนั้นยังสว่างรุ่งโรจน์แผดแสงอยู่เพียงนั้นนั่นแล. บทว่า ยาว น อุณฺณมติ ปภงฺกโร ความว่า พระอาทิตย์อันได้นามว่า ปภังกร เพราะกระทำให้มีแสงสว่างในขณะเดียวกัน ในมหาทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ทอแสง คือยังไม่ขึ้นไปตราบใด. จริงอยู่ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น พวกหิ่งห้อยก็ได้โอกาสเปลี่ยนแสง เช่นกับผลไม้มีหนาม ย่อมส่งแสงในที่มืด. บทว่า เวโรจนมฺหิ อุคฺคเต หตปฺปโภ โหติ น จาปิ ภาสติ ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อันได้นามว่า วิโรจนะ เพราะมีสภาวะส่องแสง โดยรัศมีแผ่ออกพันดวงกำจัดความมืดโดยรอบขึ้นไปแล้ว หิ่งห้อยหมดรัศมี ไร้เดช เป็นสีดำ ไม่มีแสงสว่าง ไม่แผดแสง เหมือนความมืดในราตรี. บทว่า เอวํ โอภาสิตเมว ติตฺถิยานํ ความว่า หิ่งห้อยนั้น ก่อนแต่พระอาทิตย์ขึ้น ย่อมส่องแสงฉันใด พวกเดียรถีย์อันได้นามว่า ตักกิกา เพราะยึดถือทิฏฐิ ด้วยเหตุเพียงตริตรึกกำหนด สว่างคือตั้งส่องแสงด้วยเดชแห่งลัทธิของตน ตราบเท่าที่พระสัมมา บทว่า น ตกฺกิกา สุชฺฌนฺติ น จาปิ สาวกา ความว่า ก็ในคราวที่พระสัมมาสัม อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด พวกเดียรถีย์ก็ยังแผดแสงโชติช่วง ตามลัทธิของตน หลังจากนั้นก็ไม่มีแสง. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่พวกเดียรถีย์ไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของเขาก็ไม่บริสุทธิ์. เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวธรรมวินัยไว้ไม่ดี ไร้การปฏิบัติชอบ ย่อมไม่บริสุทธิ์จากสงสารไปได้ เพราะคำสอนไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ผู้มีทิฏฐิชั่ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้เป็นต้น. จริงอยู่ พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิชั่ว คือมีทิฏฐิอันยึดถือไว้ผิด ได้แก่มีความเห็นผิด เพราะไม่มีลัทธิตามความเป็นจริง ไม่สละทิฏฐินั้นแล้ว แม้ในกาลไหนๆ ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ในสงสารได้เลย. จบอรรถกถาอุปปัชชันติสูตรที่ ๑๐ จบชัจจันธวรรควรรณนาที่ ๖ --------------------------------- ๑. อายุสมโอสัชชนสูตร ๒. ปฏิสัลลานสูตร ๓. อาหุสูตร ๔. กิรสูตรที่ ๑ ๕. กิรสูตรที่ ๒ ๖. ติตถสูตร ๗. สุภูติสูตร ๘. คณิกาสูตร ๙. อุปาติสูตร ๑๐. อุปปัชชันติสูตร ฯ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน ชัจจันธวรรคที่ ๖ อุปปัชชันติสูตร จบ. |