บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] หน้าต่างที่ ๑๒ / ๑๕. ข้อความเบื้องต้น พระมหาโมคคัลลานเถระทำการยิ้ม ลำดับนั้น พระลักขณเถระถามเหตุกะพระเถระนั้นว่า "ผู้มีอายุ เพราะเหตุไร ท่านจึงทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ?" พระเถระตอบว่า "ผู้มีอายุ นี้ไม่ใช่กาลแล เพื่อวิสัชนาปัญหานี้, ท่านพึงถามผมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด." เมื่อพระเถระทั้งสองนั้น เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแล้ว, พระลักขณเถระถามว่า "ท่านโมคคัลลานะผู้มีอายุ ท่านลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ ผมถามถึงเหตุแห่งการยิ้มแย้ม ได้กล่าวว่า ท่านพึงถามผมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ ท่านจงบอกเหตุนั้นเถิด." พระมหาโมคคัลลานะบอกเหตุแห่งการยิ้ม ได้ยินว่า อัตภาพของเปรตทั้งสองนั่นแล ประมาณ ๒๕ โยชน์ ของเปรตที่เหลือประมาณ ๓ คาวุต ของอหิเปรตนี้นั่นแล และของกากเปรต ประมาณ ๒๕ โยชน์ บรรดาเปรตทั้งสองนั้น อหิเปรต เป็นดังนี้ก่อน. บุรพกรรมของกากเปรต เมื่อจะถามบุรพกรรมของเปรตนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- ลิ้นของเจ้าประมาณ ๕ โยชน์, ศีรษะของเจ้าประมาณ ๙ โยชน์, กายของเจ้าสูงประมาณ ๒๕โยชน์, เจ้าทำ กรรมอะไรไว้จึงถึงทุกข์เช่นนี้. ครั้งนั้น เปรตเมื่อจะบอกแก่พระเถระนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- พระโมคคัลลานะผู้เจริญ ข้าพเจ้ากลืนกินภัตที่เขานำมา เพื่อสงฆ์ ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ผู้แสวงหา คุณอันใหญ่ ตามปรารถนา. ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป พวกภิกษุมากรูป เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. พวกมนุษย์เห็นพระเถระทั้งหลายแล้วรักใคร่ นิมนต์ให้นั่งที่โรงฉัน ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน ให้ดื่มข้าวยาคู ถวายของควรเคี้ยว รอคอยบิณฑบาตกาล นั่งฟังธรรมอยู่. ในกาลจบธรรมกถา พวกมนุษย์รับบาตรของพระเถระทั้งหลายแล้ว ให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ในเรือนของตนๆ แล้วนำมา. ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นกา จับอยู่ที่หลังคาแห่งโรงฉัน เห็นโภชนะนั้นแล้ว ได้คาบเอาคำข้าว ๓ คำเต็มปาก ๓ ครั้ง จากบาตรอันมนุษย์ผู้หนึ่งถือไว้, แต่ภัตนั้น ยังหาเป็นของสงฆ์ไม่, มิใช่เป็นภัตที่เขากำหนดถวายแก่สงฆ์, เป็นภัตอันเหลือจากที่ภิกษุทั้งหลายฉัน อันพวกมนุษย์พึงนำไปสู่เรือนของตนบริโภคก็ไม่ใช่, เป็นเพียงภัตที่เขานำมาเฉพาะสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น, ข้าพเจ้าคาบเอาคำข้าว ๓ คำจากบาตรนั้น, กรรมเพียงเท่านี้ เป็นบุรพกรรมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้านั้นทำกาละแล้ว ไหม้ในอเวจี เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น ในบัดนี้ เกิดเป็นกากเปรต เสวยทุกข์นี้ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมที่เหลือในเพราะกรรมนั้น. เรื่องกากเปรต มีเท่านี้. แต่ในเรื่องนี้ พระเถระกล่าวว่า "ผมเห็นอหิเปรต จึงได้ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ." ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเป็นพยานของพระเถระนั้น ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง, ก็เราเห็นเปรตนั่นในวันบรรลุสัมโพธิญาณเหมือนกัน, แต่เราไม่กล่าว เพราะเอ็นดูคนอื่นว่า ชนเหล่าใด ไม่เชื่อคำของเรา, ความไม่เชื่อนั้น พึงเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเหล่านั้น." ก็ในกาลที่พระมหาโมคคัลลานะเห็นแล้วนั่นแล พระศาสดาทรงเป็นพยานของท่าน ตรัสเรื่อง ๒๐ เรื่อง แม้ในลักขณสังยุต๑- แล้ว. แม้เรื่องนี้ พระเถระนั้นก็กล่าวไว้อย่างนั้นเหมือนกัน. ____________________________ ๑- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๖๓๖. ภิกษุทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้ว จึงทูลถามบุรพกรรมของเปรตนั้น. แม้พระศาสดา ก็ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า :- บุรพกรรมของอหิเปรต บุรุษชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่งอาศัยหนทางนั้นไถนา. มหาชน เมื่อไปสู่ที่บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมเหยียบย่ำนานั้นไปทั้งเย็นทั้งเช้า. ชาวนา แม้ห้ามอยู่ว่า "ขอ ครั้งนั้น ชาวนานั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "ถ้าบรรณศาลาของพระ พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นบรรณศาลานั้นถูกไฟไหม้ จึงหลีกไปตามสบาย. มหาชนถือของหอมและระเบียบดอกไม้มา เห็นบรรณาศาลาถูกไฟไหม้ จึงกล่าวว่า "พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ไป ณ ที่ไหนหนอแล?" แม้ชาวนานั้น ก็มากับด้วยมหาชนเหมือนกัน ยืนอยู่ในท่าม ครั้งนั้น ชนทั้งหลายพูดว่า "พวกท่านจงจับ, พวกเราอาศัยบุรุษชั่วนี้ จึงไม่ได้เพื่อจะเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า" ดังนี้แล้ว ก็โบยชาวนานั้นด้วยเครื่องประหาร มีท่อนไม้เป็นต้น ให้ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว. ชาวนานั้นเกิดในอเวจี ไหม้ในนรกตราบเท่าแผ่นดินนี้ หนาขึ้นประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว จึงเกิดเป็นอหิเปรตที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมอันเหลือ." พระศาสดาทรงเปรียบเทียบผลกรรม "ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าบาปกรรมนั้น เป็นเช่นกับน้ำนม, น้ำนมอันบุคคลกำลังรีดแล ย่อมไม่แปรไปฉันใด กรรมอันบุคคลกำลังกระทำเทียวก็ยังไม่ทันให้ผลฉันนั้น แต่ในกาลใด กรรมให้ผล, ในกาลนั้น ผู้กระทำย่อมประกอบด้วยทุกข์เห็นปานนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ พระศาสดาตรัสคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "น้ำนมที่เขารีด ในขณะนั้น ย่อมไม่เปลี่ยน คือไม่แปร ได้แก่ไม่ละปกติในขณะนั้นนั่นแล, แต่ที่เขารีดใส่ไว้ในภาชนะใด ก็ย่อมไม่ละปกติ ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ใส่ของเปรี้ยวมีเปรียงเป็นต้น ลงในภาชนะนั้น คือตราบเท่าที่ยังไม่ถึงภาชนะของเปรี้ยว มีภาชนะนมส้มเป็นต้น ย่อมละในภายหลัง ฉันใด, แม้บาปกรรมที่บุคคลกำลังทำ ก็ย่อมไม่ให้ผลฉันนั้นเหมือนกัน, ถ้าบาปกรรมพึงให้ผล (ในขณะทำ) ใครๆ ไม่พึงอาจเพื่อทำบาปกรรมได้; ก็ขันธ์ทั้งหลายที่บังเกิดด้วยกุศล ยังทรงอยู่เพียงใด ขันธ์เหล่านั้นย่อมรักษาบุคคลนั้นไว้ได้เพียงนั้น, เมื่อขันธ์ทั้งหลายเกิดในอบาย เพราะความแตกแห่งขันธ์เหล่านั้น บาปกรรมย่อมให้ผล, ก็เมื่อให้ผล ชื่อว่าย่อมตามเผาผลาญคนพาล." ถามว่า "เหมือนอะไร?" แก้ว่า "เหมือนไฟอันเถ้ากลบไว้." อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ถ่านไฟปราศจากเปลวไฟ อันเถ้ากลบไว้ แม้คนเหยียบแล้วก็ยังไม่ไหม้ก่อน เพราะเถ้ายังปิดไว้, แต่ยังเถ้าให้ร้อนแล้ว ย่อมไหม้ไปจนถึงมันสมอง ด้วยสามารถไหม้อวัยวะมีหนังเป็นต้นฉันใด; แม้บาปกรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นบาปกรรมอันผู้ใดกระทำไว้ ย่อมตามเผาผู้นั้น ซึ่งเป็นพาลเกิดแล้วในอบายมีนรกเป็นต้น ในอัตภาพที่ ๒ หรือที่ ๓. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องอหิเปรต จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕ |