บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] หน้าต่างที่ ๓ / ๑๕. ข้อความเบื้องต้น อานนทเศรษฐีสั่งสอนบุตรให้ตระหนี่ บุคคลผู้ฉลาดพึงเห็นความสิ้นแห่งยาสำหรับ หยอด (ตา) ความก่อขึ้นแห่งตัวปลวกทั้งหลาย และ การประมวลมาแห่งตัวผึ้งทั้งหลาย พึงอยู่ครองเรือน. อานนทเศรษฐีตายไปเกิดในตระกูลคนจัณฑาล พระราชาทรงทราบการทำกาละของอานนทเศรษฐีแล้ว รับสั่งให้เรียกมูลสิริผู้บุตรของเขามา ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐี. ตระกูลแห่งคนจัณฑาลตั้งพันแม้นั้น ทำงานเพื่อค่าจ้างโดยความเป็นพวกเดียวกันเทียว เป็นอยู่ จำเดิมแต่กาลถือปฏิสนธิของทารกนั้น ย่อมไม่ได้ค่าจ้างเลย ทั้งไม่ได้ แม้ก้อนข้าวเกินไปกว่าอาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป. พวกเขากล่าวว่า "บัดนี้ เราทั้งหลายแม้ทำการงานอยู่ ย่อมไม่ได้อาหารสักว่าก้อนข้าว, หญิงกาลกิณีพึงมีในระหว่างเราทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว จึงแยกกันออกเป็น ๒ พวก จนแยกมารดาบิดาของทารกนั้นอยู่แผนกหนึ่งต่างหาก, ไล่มารดาของทารกนั้นออก ด้วยคิดว่า "หญิงกาลกิณีเกิดในตระกูลนี้." ทารกนั้นยังอยู่ในท้องของหญิงนั้นตราบใด, หญิงนั้นได้อาหาร แม้สักว่ายังอัตภาพให้เป็นไปโดยฝืดเคืองตราบนั้น คลอดบุตรแล้ว. ทารกนั้นได้มีมือและเท้า นัยน์ตา หู จมูก และปากไม่ตั้งอยู่ในที่ตามปกติ. ทารกนั้นประกอบด้วยความวิกล แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มารดาก็ไม่ละบุตรนั้น. จริงอยู่ มารดาย่อมมีความเยื่อใยเป็นกำลังในบุตรที่อยู่ในท้อง. นางเลี้ยงทารกนั้นอยู่โดยฝืดเคือง, ในวันที่พาเขาไป ไม่ได้อะไรๆ เลย, ในวันที่ให้เขาอยู่บ้านแล้วไปเองนั่นแล จึงได้ค่าจ้าง. มารดาปล่อยบุตรไปขอทานเลี้ยงชีพเอง ทารกนั้นเที่ยวไปตามลำดับเรือน ถึงที่แห่งตนเกิดในคราวเป็นอานนทเศรษฐีแล้ว เป็นผู้ระลึกชาติได้ เข้าไปสู่เรือนของตน. ใครๆ ไม่ได้สังเกตเขาในซุ้มประตูทั้งสาม ในซุ้มประตูที่ ๔ พวกบุตรของมูลสิริเศรษฐีเห็น (เขา) แล้วมีใจหวาดเสียวร้องไห้แล้ว. ลำดับนั้น พวกบุรุษของเศรษฐีกล่าวกะทารกนั้นว่า "เองจงออกไป คนกาลกิณี" โบยพลางนำออกไปโยนไว้ที่กองหยากเยื่อ. พระศาสดาแสดงธรรมแก่มูลสิริเศรษฐี พระเถระให้เชิญมูลสิริเศรษฐีมาแล้ว. หมู่มหาชนประชุมกันแล้ว. พระศาสดาตรัสเรียกมูลสิริเศรษฐีมาแล้ว ตรัสถามว่า "ท่านรู้จักทารกนั่นไหม?" เมื่อมูลสิริเศรษฐีนั้นทูลว่า "ไม่รู้จัก" จึงตรัสว่า "ทารกนั้น คืออานนทเศรษฐีผู้บิดาของท่าน" แล้วยังทารกนั้นให้บอก (ขุมทรัพย์) ด้วยพระดำรัสว่า "อานนทเศรษฐี ท่านจงบอกขุมทรัพย์ใหญ่ ๕ แห่งแก่บุตรของท่าน" แล้วทรงยังมูลสิริเศรษฐีผู้ไม่เชื่ออยู่นั้นให้เชื่อแล้ว. มูลสิริเศรษฐีนั้นได้ถึงพระศาสดาเป็นสรณะแล้ว. พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่มูลสิริเศรษฐีนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ "คนพาลย่อมเดือดร้อนด้วยความอยากในบุตร และด้วยความอยากในทรัพย์ว่า บุตรทั้งหลายของเรามีอยู่, ทรัพย์ของเรามีอยู่, คือย่อมลำบาก ย่อมถึงทุกข์, คือย่อมเดือดร้อนว่า บุตรทั้งหลายของเราฉิบหายแล้ว, ย่อมเดือดร้อนว่า ฉิบหายอยู่, ย่อมเดือดร้อนว่า จักฉิบหาย." แม้ในทรัพย์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คนพาลย่อมเดือดร้อนด้วยอาการ ๖ อย่าง ด้วยประการฉะนี้, คนพาล แม้พยายามอยู่ในที่ทั้งหลายมีทางบกและทางน้ำเป็นต้น ทั้งกลางคืนและกลางวันโดยประการต่างๆ ด้วยคิดว่า เราจักเลี้ยงบุตรทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมเดือดร้อน, แม้ทำกรรมทั้งหลายมีการทำนาและการค้าขายเป็นต้น ด้วยคิดว่า เราจักยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ชื่อว่าย่อมเดือดร้อนเหมือนกัน; ก็เมื่อเขาเดือดร้อนอยู่อย่างนี้ ตนแลชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ตน, เมื่อเขาไม่อาจทำตนที่ถึงทุกข์ด้วยความคับแค้นนั้นให้ถึงสุขได้ แม้ในปัจจุบันกาล ตนของเขาแล ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ตน, เมื่อเขานอนแล้วบนเตียงเป็นที่ตาย ถูกเวทนาทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุด เผาอยู่ราวกะว่าถูกเปลวเพลิงเผาอยู่ เมื่อเครื่องต่อและเครื่องผูก (เส้นเอ็น) จะขาดไป เมื่อร่างกระดูกจะแตกไป แม้เมื่อเขาหลับตาเห็นโลกหน้า ลืมตาเห็นโลกนี้อยู่ ตนแล แม้อันเขาให้อาบน้ำวันละ ๒ ครั้ง ให้บริโภควันละ ๓ ครั้ง ประดับด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น เลี้ยงแล้วตลอดชีวิต ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ตน เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถจะทำเครื่องต้านทานทุกข์ โดยความเป็นสหายได้, บุตรจักมีแต่ที่ไหน? ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน? คือว่าในสมัยนั้น บุตรหรือทรัพย์จักทำอะไรได้เล่า? แม้เมื่ออานนทเศรษฐีไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ รวบรวมทรัพย์ไว้เพื่อประโยชน์แก่บุตร นอนบนเตียงเป็นที่ตายในกาลก่อนก็ดี ถึงทุกข์นี้ในบัดนี้ก็ดี, บุตรแต่ที่ไหน? ทรัพย์แต่ที่ไหน? คือว่าบุตรหรือทรัพย์นำทุกข์อะไรไปได้? หรือให้สุขอะไรเกิดขึ้นได้เล่า?" ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. เทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล. เรื่องอานนทเศรษฐี จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕ |