ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 14อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 15อ่านอรรถกถา 25 / 16อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕

หน้าต่างที่ ๕ / ๑๕.

               ๕. เรื่องพระอุทายีเถระ [๔๙]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล" เป็นต้น.

               คนไม่รู้มักถือตัว               
               ได้ยินว่า พระอุทายีเถระนั้น เมื่อพระเถระผู้ใหญ่หลีกไปแล้ว ไปสู่โรงธรรมแล้ว นั่งบนธรรมาสน์. ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพระอุทายีเถระนั้นแล้วเข้าใจว่า "ภิกษุนี้จักเป็นพระมหาเถระผู้พหูสูต" จึงถามปัญหาปฏิสังยุตด้วยขันธ์เป็นต้นแล้ว ติเตียนท่านผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งพระพุทธวจนะอะไรๆ ว่า "นี่พระเถระอะไร? อยู่ในพระวิหารเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ยังไม่รู้ธรรม แม้สักว่าขันธ์ธาตุและอายตนะ" ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระตถาคต.
               ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น
               จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๕. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล   ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ 
                         น โส ธมฺมํ วิชานาติ   ทพฺพี สูปรสํ ยถา.
                         ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จนตลอดชีวิต,
                         เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกงฉะนั้น.

               แก้อรรถ               
               พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า :-
               "ชื่อว่าคนพาลนี้ เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้จนตลอดชีวิต ย่อมไม่รู้ปริยัติธรรมอย่างนี้ว่า ‘นี่เป็นพระพุทธพจน์ พระพุทธพจน์มีประมาณเท่านี้’ หรือซึ่งปฏิปัตติธรรมและปฏิเวธธรรมอย่างนี้ว่า ‘ธรรมนี้เป็นเครื่องอยู่, ธรรมนี้เป็นมรรยาท, นี้เป็นโคจรกรรม นี้เป็นไปกับด้วยโทษ, กรรมนี้หาโทษมิได้, กรรมนี้ควรเสพ; กรรมนี้ไม่ควรเสพ; สิ่งนี้พึงแทงตลอด, สิ่งนี้ควรกระทำให้แจ้ง."
               ถามว่า "เหมือนอะไร?"
               แก้ว่า "เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกงฉะนั้น."
               อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ทัพพี แม้คนแกงต่างชนิด มีประการต่างๆ อยู่จนกร่อนไป ย่อมไม่รู้รสแกงว่า ‘นี้รสเค็ม, นี้รสจืด, นี้รสขม, นี้รสขื่น, นี้รสเผ็ด, นี้รสเปรี้ยว, นี้รสฝาด ฉันใด; คนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตตลอดชีวิต ย่อมไม่รู้ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.
               ในกาลจบเทศนา จิตของพวกภิกษุอาคันตุกะหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ดังนี้แล.

               เรื่องพระอุทายีเถระ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 14อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 15อ่านอรรถกถา 25 / 16อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=434&Z=478
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=20&A=2059
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=20&A=2059
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :