บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า สมฺพหุลานํ ภิกฺขูนํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต ความว่า วันหนึ่ง ท่านพระ เพราะเหตุไร? เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยการไม่คลุกคลี. อนึ่ง ปุถุชนทั้งหลายย่อมดูหมิ่นรูปของท่านว่า น่าดูหมิ่น เป็นที่ตั้งแห่งความดูหมิ่น. พระเถระทราบดังนั้นจึงเดินไปข้างหลัง ด้วยคิดว่า ภิกษุเหล่านี้อย่าได้ประสบบาป เพราะอาศัยเราเลย. ภิกษุเหล่านั้นและพระเถระถึงกรุงสาวัตถี เข้าไปยังวิหาร เข้าเฝ้าพระศาสดาถึงที่ประทับด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา ลกุณฺฏกภทฺทิโย ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณํ ได้แก่ รูปน่าเกลียด. ด้วยคำนั้น ทรง บทว่า ทุทฺทสิกํ แปลว่า เห็นเข้าไม่น่าเลื่อมใส. ด้วยบทนั้น แสดงถึงท่านไม่มีความสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะและความสมบูรณ์ด้วยอาการ. บทว่า โอโกฏิมกํ แปลว่า เตี้ย. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงท่านไม่มีความสมบูรณ์ด้วยส่วนสูง. บทว่า เยภุยฺเยน ภิกฺขูนํ ปริภูตรูปํ ได้แก่ ผู้มีรูปร่างอันภิกษุปุถุชนทั้งหลาย ดูหมิ่น. ภิกษุปุถุชนบางพวก เช่นพระฉัพพัคคีย์เป็นต้น เมื่อไม่รู้คุณของท่าน จับ ลูบคลำ เล่น ที่มือและใบหูเป็นต้น ดูหมิ่นพระอริยเจ้า หรือกัลยาณปุถุชนหาดูหมิ่นไม่. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ตรัสเรียกภิกษุมาทำไม? เพื่อประกาศคุณของพระเถระ. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ว่าบุตรเรามีอานุภาพมาก เพราะเหตุนั้น จึงพากันดูหมิ่นเธอ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่ภิกษุเหล่านั้น เอาเถอะ เราจักประกาศคุณของภิกษุนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วจักปลดเปลื้องเธอให้พ้นจากความดูหมิ่น. บทว่า ปสฺสถ โน แปลว่า พวกเธอจงดูนะ. บทว่า น จ สา สมาปตฺติ สุลภรูปา ยา เตน ภิกฺขุนา อสมาปนฺนปุพฺพา ความว่า ชื่อสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันทั่วไปแก่พระสาวกมีประเภทอย่างนี้ คือรูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ พรหมวิหารสมาบัติ นิโรธสมาบัติ และผลสมาบัติ ในสมาบัติเหล่านั้น สมาบัติแม้อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ได้โดยง่าย คือได้โดยยาก. ภิกษุลกุณฐกภัททิยะนั้นไม่เคยเข้าสมาบัตินั้น ไม่มีเลย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่พระเถระนั้นมีฤทธิ์มาก ในคำที่ตรัสไว้ว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว บัดนี้ เพื่อจะประกาศความที่ท่านมีอานุภาพมาก จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยสฺส จตฺถาย ดังนี้. คำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ก็ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า เอโส ภิกฺขเว ภิกฺขุ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ไม่ใช่เป็นภิกษุพอดีพอร้าย ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า เป็นผู้มีรูปน่าเกลียด ไม่น่าดู เตี้ย และว่าเดินตามหลังภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้เป็นภิกษุมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ความจริงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พระสาวกพึงถึง สิ่งนั้นทั้งหมดภิกษุนั้นถึงแล้วโดยลำดับ เพราะฉะนั้น พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นที่หนักแน่นดุจฉัตรหิน แล้วจึงแลดู ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอดกาลนานแก่เธอทั้งหลาย. บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่งกองแห่งคุณของท่านลกุณฐกภัททิยะต่างโดยคุณมีความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเป็นต้นนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น. โทษท่านเรียกว่า เอละ ในบทว่า เนลงฺโค นี้ในพระคาถานั้น. โทษของคำนั้นไม่มี เหตุนั้น คำนั้นจึงชื่อว่า เนลํ. ก็ เนละ นั้นคืออะไร? คือศีลที่บริสุทธิ์ด้วยดี. จริงอยู่ ศีลที่บริสุทธิ์ด้วยดีนั้น ท่านประสงค์ว่าเนละ ในพระคาถานี้ เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ. ภิกษุชื่อว่า เนลังคะ เพราะมีองค์อันเป็นประธานอันหาโทษมิได้. เชื่อมความด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ด้วยรถ. เพราะฉะนั้น อธิบายว่า ผู้มีองค์คือศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี. จริงอยู่ ศีลที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล ท่านประสงค์เอาในที่นี้. อัตภาพดุจรถ ชื่อว่า เสตปจฺฉาโท เพราะมีหลังคาสีขาว. บทว่า ปจฺฉาโท ได้แก่ ผ้ากัมพลเป็นต้นที่ลาดไว้บนหลังรถ. ก็รถคืออัตภาพนั้น มีสีขาวก็ดี มีสีแดงและสีเขียวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เพราะมีภาวะขาวหมดจดด้วยดี แต่ในที่นี้ท่านกล่าวว่า เสตปจฺฉาโท มีหลังคาขาว เพราะอาศัยภาวะที่บริสุทธิ์ด้วยดี เหตุประสงค์เอาความหลุดพ้นด้วยอรหัตผล เหมือนอุปมาอย่างใดอย่างหนึ่งว่า รถมีเครื่องบริขารขาว. กำอันหนึ่ง คือสติ ของรถนั้นมีอยู่ เหตุนั้น รถนั้นชื่อว่ามีกำอันเดียว. บทว่า วตฺตติ แปลว่า ย่อมเป็นไป. ด้วยบทว่า รโถ นี้ พระองค์ตรัสหมายถึงอัตภาพของพระเถระ. บทว่า อนีฆํ แปลว่า ไม่มีทุกข์ อธิบายว่า เว้นจากความกำเริบแห่งกิเลส ดุจยานที่เว้นจากความสั่นฉะนั้น. บทว่า อายนฺตํ ได้แก่ มาข้างหลัง ข้างหลังของภิกษุเป็นอันมาก. บทว่า ฉินฺนโสตํ ได้แก่ ตัดกระแสแล้ว. จริงอยู่ กระแสแห่งเนยใส และน้ำมันเป็นต้น ที่ฉาบทาที่หัวเพลาและดุม ไหลไปคือบ่าไป เพื่อให้รถตามปกติแล่นไปสะดวก เพราะฉะนั้น รถนั้นจึงชื่อว่ามีกระแสยังไม่ขาด. แต่รถนี้ เป็นอันชื่อว่าขาดกระแสแล้ว เพราะละกระแสกิเลส ๓๖ ได้เด็ดขาด. ซึ่งรถที่ขาดกระแสแล้วนั้น ชื่อว่า อพนฺธโน เพราะรถนั้นไม่มีเครื่องผูก. จริงอยู่ เครื่องผูกทั้งหลายของรถที่มีเครื่องปรุงพร้อมกับเพลา ย่อมมีมากเพื่อทำไม่ให้รถนั้นคลอนแคลน ด้วยเหตุนั้น รถนั้นจึงชื่อว่ามีเครื่องผูก. แต่รถนี้ชื่อว่าไม่มีเครื่องผูก เพราะเครื่องผูกคือสังโยชน์ทั้งปวง หมดสิ้นไปโดยไม่เหลือ. ซึ่งรถอันไม่มีเครื่องผูกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รับโสมนัสด้วยคุณของพระเถระ จึงตรัสเรียก ดังนั้น พระศาสดาทรงแสดงท่านลกุณฐกภัททิยะให้เป็นผู้มีจักรด้วยดี โดยยกอรหัตผลขึ้นเป็นประธาน ให้เป็นผู้มีสิ่งกำบังอันข้ามพ้นด้วยดี ด้วยวิมุตติอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล ให้เป็นผู้มีกำบังด้วยดี ด้วยสติอันตั้งมั่นด้วยดี ให้เป็นผู้ไม่กำเริบ เพราะกิเลสเครื่องกำเริบไม่มี ให้เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องไล้ทา เพราะเครื่องไล้ทาคือตัณหาไม่มี ให้เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน เพราะไม่มีสังโยชน์เป็นต้น ให้เป็นดุจรถเทียมด้วยม้าอาชาไนยอันประกอบด้วยดีแล้ว อันมีเครื่องปรุงดีแล้ว. จบอรรถกถาลกุณฐกภัททิยสูตรที่ ๕ ------------------------------------------ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน จูฬวรรคที่ ๗ ลกุณฐกภัททิยสูตร จบ. |