บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อชฺฌตฺต ศัพท์นี้ ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ มาในอรรถว่าเกิดภายใน ในประโยคมีอาทิว่า๑- อายตนะภายใน ๖ ดังนี้. มาในอรรถว่าเกิดในตน ในประโยคมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลายเกิดในตน๒- หรือตามเห็นกายในกายภายในตน.๓- มาในอรรถว่าเป็นภายในแห่งอารมณ์ ในประโยคมีอาทิว่า๔- เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงสุญญตะอันเป็นภายในอยู่. อธิบายว่า ใน แม้ในที่นี้ ท่านพึงเห็นว่ามาในอรรถว่า มีโคจรเป็นภายในนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ในอารมณ์กัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. ____________________________ ๑- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๖๑๘ ๒- อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๑ ๓- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๗๗ ๔- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๓๔๖ ๕- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๓๔๗ บทว่า ปริมุขํ แปลว่า ตรงหน้า. บทว่า สุปฏฺฐิตาย ได้แก่ มีสติไปในกายอันตั้งมั่นด้วยดี. ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงฌานโดยยกสติขึ้นเป็นประธาน ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุเข้าฌานอันเป็นภายใน คืออันยิ่งที่ตนได้ โดยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน. ก็พระเถระนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้วเข้าไปสู่วิหาร แสดงวัตรแด่พระผู้มี พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทอดพระเนตรเห็นเธอนั่งอยู่อย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา มหากจฺจายโน ฯเปฯ สุปฏฺฐิตาย ดังนี้เป็นต้น. บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ถึงการที่ท่านพระมหากัจจานเถระเข้าฌานที่ตนบรรลุด้วยสติปัฏฐานภาวนาให้เป็นบาท แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส สิยา สพฺพทา สติ สตตํ กายคตา อุปฏฺฐิตา ความว่า สติอันไปแล้วในกายทั้งสองอย่าง โดยความต่างแห่งนามและรูป คือมีกายเป็นอารมณ์ พึงเป็น เล่ากันมาว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้ยังฌานให้บังเกิดโดยกายคตาสติกัมมัฏฐานก่อน แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา โดยมุข คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว บรรลุพระอรหัต. ถึงในกาลต่อมา โดยมาก ท่านเข้าฌานนั้นนั่นแหละออกแล้ว พิจารณาเห็นโดยประการนั้นนั่นแล แล้วเข้าผลสมาบัติ. พระศาสดา เมื่อทรงแสดงวิธีที่เป็นเหตุให้ท่านบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า ผู้ที่มีสติ ความข้อนั้น เมื่อว่าโดยพิจารณา พึงทราบโดยเป็น ๒ ส่วน คือด้วยส่วนเบื้องต้น ๑ ด้วยขณะพิจารณา ๑. ใน ๒ อย่างนั้น พึงทราบโดยส่วนเบื้องต้นก่อน. บทว่า โน จสฺส โน จ เม สิยา ความว่า หากว่า ในอดีตกาล กิเลสกรรมของเราไม่พึงมีไซร้ ในกาลอันเป็นปัจจุบันนี้ อัตภาพนี้จะไม่พึงมีแก่เรา คือไม่พึงเกิดแก่เรา. ก็เพราะเหตุที่กรรมและกิเลสได้มีแก่เราในอดีตกาล ฉะนั้น อัตภาพของเราในบัดนี้ ซึ่งมีกรรมกิเลสนั้นเป็นเครื่องหมาย ย่อมเป็นไป. บทว่า น ภวิสฺสติ น จ เม ภวิสฺสติ ความว่า ในอัตภาพนี้ เพราะปราศจากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์นั่น และกิเลสกรรม จักไม่มี คือจักไม่เกิดแก่เรา และวิปากวัฏในอนาคตจักไม่มี คือจักไม่เกิดแก่เรา. ในกาลทั้ง ๓ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ขันธปัญจกคืออัตภาพของเรานี้ อันมีกรรมกิเลสเป็นเหตุ ไม่ใช่มีผู้ยิ่งใหญ่เป็นต้นเป็นเหตุ เป็นอันท่านประกาศถึงการเห็นนามและรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่าของเราฉันใด ของสัตว์ทั้งปวงก็ฉันนั้น. แต่เมื่อว่าโดยเวลาพิจารณา พึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า โน จสฺส โน จ เม สิยา ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์นี้ ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและความดับบีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่าอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น สภาวะบางอย่างที่ชื่อว่าอัตตานี้ที่พ้นไปจากเบญจขันธ์ก็ไม่มี คือไม่พึงมี ไม่พึงเกิด เมื่อเป็นเช่นนั้น เบญจขันธ์บางอย่างที่ชื่อว่าเป็นของเราไม่พึงมีแก่เรา ไม่พึงเกิดแก่เรา. จริงอยู่ เมื่ออัตตามี สิ่งที่เกิดในตนก็พึงมี เหมือนอย่างว่า นามรูปนี้ที่เกิดในตน จักสูญไปในปัจจุบัน และในอดีต ฉันใด สภาวะอะไรๆ ที่ชื่อว่าเป็นอัตตาที่พ้นไปจากขันธ์ ก็ฉันนั้น จักไม่มี จักไม่เกิดแก่เรา คือจักไม่มี จักไม่เกิดแก่เราในอนาคต ต่อจากนั้นแล เบญจขันธ์นี้อะไรๆ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกังวล จักไม่มีแก่เรา คือธรรมชาติอะไรๆ ที่เกิดในตนจักไม่มีแก่เราแม้ในอนาคต. ด้วยคำนี้ พระองค์แสดงถึงความไม่มีสิ่งที่จะพึงถือว่าเรา และจะพึงถือว่าของเรา เพราะไม่มีใน ๓ กาล. ด้วยคำนั้นเป็นอันทรงประกาศสุญญตามี ๔ เงื่อน. บทว่า อนุปพฺพวิหารี ตตฺถ โส ความว่า เมื่อพระโยคาวจรตามเห็นความเป็นของว่างอันมีในตน ในสังขารนั้น ในกาลทั้ง ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้ เมื่อวิปัสสนาญาณมีอุทยัพพยญาณเป็นต้น เกิดขึ้นโดยลำดับ ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ โดยอนุปุพพวิปัสสนาวิหารธรรม. บทว่า กาเลเนว ตเร วิสตฺติกํ ความว่า พระโยคาวจรนั้น คือผู้ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ดำรงอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพึงข้ามตัณหา กล่าวคือตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ เพราะสืบต่อวัฏฏะ ๓ ทั้งสิ้น โดยเวลาที่ถึงความแก่กล้า โดยเวลาที่วุฏฐานคามินีวิปัสสนาสืบต่อด้วยมรรค และโดยเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้น. อธิบายว่า พึงข้ามไปตั้งอยู่ ณ ฝั่งโน้นแห่งตัณหานั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานอันแสดงถึงการที่ท่านพระมหากัจจานะบรรลุพระอรหัต โดยอ้างถึงพระอรหัตผล ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถามหากัจจานสูตรที่ ๘ -------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน จูฬวรรคที่ ๗ มหากัจจานสูตร จบ. |