บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] หน้าต่างที่ ๘ / ๑๑. ข้อความเบื้องต้น พระธรรมเทศนาตั้งขึ้นที่เมืองเวรัญชา. พระศาสดาเสด็จเมืองเวรัญชา ____________________________ ๑- มาราวฏฺฏเนน อาวฏฺโฏ อันเครื่องหมุนไปทั่วแห่งมารให้หมุนทั่วแล้ว พวกพ่อค้าม้าจัดแจงภิกษา มีข้าวแดงราวแล่งหนึ่งๆ เพื่อภิกษุเหล่านั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นภิกษุเหล่านั้นลำบาก ได้มีความประสงค์จะให้ภิกษุฉันง้วนดิน และประสงค์จะให้พวกภิกษุเข้าไปสู่อุตตรกุรุทวีป เพื่อบิณฑบาต พระศาสดาได้ทรงห้ามท่านเสีย. แม้ในวันหนึ่ง พวกภิกษุมิได้มีความสะดุ้งเพราะปรารภบิณฑบาต. ภิกษุทั้งหลายเว้นความประพฤติด้วยอำนาจความอยากแลอยู่แล้ว. พระศาสดาเสด็จไปกรุงสาวัตถี ก็ในกาลนั้น พวกกินเดนประมาณ ๕๐๐ คน อาศัยพวกภิกษุ อยู่ภายในวิหารนั่นเอง. พวกเขากินโภชนะอันประณีต ที่เหลือจากภิกษุทั้งหลายฉันแล้ว ก็นอนหลับ ลุกขึ้นแล้ว ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ แผดเสียงโห่ร้อง กระโดดโลดเต้น ซ้อมมวยปล้ำ เล่นกันอยู่ ประพฤติแต่อนาจารเท่านั้น ทั้งภายในวิหาร ทั้งภายนอกวิหาร. พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ดูเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย, ในเวลาเกิดทุพ พระศาสดาตรัสวาโลทกชาดก ตรัสว่า "แม้ในกาลก่อน คนกินเดนเหล่านี้เกิดในกำเนิดลา เป็นลา ๕๐๐ ได้ดื่มน้ำมีรสน้อยอันเลว ซึ่งถึงการนับว่า น้ำหาง เพราะความที่เขาเอาน้ำขยำกาก อันเป็นเดนซึ่งเหลือจากน้ำลูกจันทน์มีรสชุ่ม ที่ม้าสินธพชาติอาชาไนย ๕๐๐ ดื่มแล้ว จึงกรองด้วยผ้าเปลือกปอเก่าๆ เป็นเหมือนเมาน้ำหวาน เที่ยวร้องเอ็ดอึงอยู่" เมื่อจะทรงแสดงกิริยาของลาเหล่านั้น อันพระโพธิสัตว์ผู้อันพระราชาทรงสดับเสียงของลาเหล่านั้น ตรัสถามแล้ว ได้กราบทูลแด่พระราชา ตรัสวาโลทกชาดก๑- นี้โดยพิสดาร ว่า :- ความเมาย่อมบังเกิดแก่พวกลา เพราะดื่มกิน น้ำหางมีรสน้อยอันเลว, แต่ความเมาย่อมไม่เกิดแก่ ม้าสินธพ เพราะดื่มรสที่ประณีตนี้. ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมนรชน ลานั้นเป็น สัตว์มีชาติเลว ดื่มน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้ว ย่อมเมา, ส่วนม้าอาชาไนย ผู้เอาธุระเสมอ เกิดใน ตระกูล (ที่ดี) ดื่มรสที่เลิศแล้วหาเมาไม่. แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเว้นธรรมคือความโลภแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีวิการเลย ทั้งในเวลาถึงสุข ทั้งในเวลาถึงทุกข์ อย่างนี้" ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๑๕; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๑๕. เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑- อีกนัยหนึ่ง แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่พร่ำเพ้อ เพราะความใคร่ในกาม. แก้อรรถ ____________________________ ๑- ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์. บทว่า วชนฺติ ความว่า สัตบุรุษ เมื่อคร่าฉันทราคะออกด้วยอรหัตมรรคญาณ ชื่อว่าย่อมเว้นฉันทราคะ. บทว่า น กามกามา ได้แก่ ผู้ใคร่กาม. (อีกอย่างหนึ่ง) ได้แก่ เพราะเหตุแห่งกาม คือเพราะกามเป็นเหตุ. สองบทว่า ลปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่บ่นเพ้อด้วยตนเองเลย (ทั้ง) ไม่ยังผู้อื่นให้บ่นเพ้อ เพราะเหตุแห่งกาม. จริงอยู่ ภิกษุเหล่าใดเข้าไปเพื่อภิกษาตั้งอยู่ในอิจฉาจาร กล่าวคำเป็นต้นว่า "อุบาสก บุตรภรรยาของท่านยังสุขสบายดีหรือ? อุปัทวะไรๆ ด้วยสามารถแห่งราชภัยและโจรภัยเป็นต้น มิได้มีในสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าดอกหรือ?" ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมบ่นเพ้อเอง. ก็ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว (พูด) ให้เขานิมนต์ตนว่า "อย่างนั้น ขอรับ พวกผมทุกคนมีความสุขดี, อุปัทวะไรๆ มิได้มี, บัดนี้ เรือนของพวกผมมีข้าวน้ำเหลือเฟือ, นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ" ดังนี้ ชื่อว่าให้บุคคลอื่นบ่นเพ้อ. ส่วนสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำการบ่นเพ้อแม้ทั้งสองอย่างนี้. คำว่า สุเขน ผุฏฺฐา อถวา ทุกฺเขน นี้ สักว่าเป็นเทศนา. อธิบายว่า "บัณฑิตทั้งหลายผู้อันโลกธรรม ๘#- ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ยินดีและความเป็นผู้เก้อเขิน หรือด้วย ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. ____________________________ #- โลกธรรม ๘ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖ |