![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าต่างที่ ๖ / ๑๐. ข้อความเบื้องต้น พระสารีบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งฟ้อง ภิกษุผู้ไม่ปรากฏด้วยสามารถชื่อและโคตรรูปใดรูปหนึ่ง คิดว่า "โอหนอ พระเถระน่าจะยกย่องปราศรัยกะเราบ้าง ด้วยสามารถชื่อและโคตร แล้วพึงให้กลับ." พระเถระไม่ทันกำหนดถึงท่าน ในระหว่างแห่งภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก. แม้ภิกษุนั้นผูกอาฆาตในพระเถระว่า "พระเถระไม่ยกย่องเรา เหมือนภิกษุทั้งหลายอื่น." มุมสังฆาฏิแม้ของพระเถระถูกสรีระของภิกษุนั้นแล้ว. แม้ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นก็ผูกอาฆาตแล้วเหมือนกัน. ภิกษุนั้นรู้ว่า "บัดนี้ พระเถระจักล่วงอุปจารวิหาร" จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรประหารข้าพระองค์เหมือนทำลายหมวกหู ไม่ยังข้าพระองค์ให้อดโทษแล้ว หลีกไปสู่ที่จาริก" ด้วยสำคัญว่า "เป็นอัครสาวกของพระองค์." พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว. พระเถระเปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง "พระศาสดาไม่ทรงทราบความที่แห่งภิกษุนี้ อันพี่ชายของพวกเรา ไม่ประหารแล้วก็หาไม่, แต่พระองค์จักทรงประสงค์ให้ท่านบันลือสีหนาท, เราจักให้บริษัทประชุมกัน." พระเถระทั้งสองนั้นมีลูกดาลอยู่ในมือ เปิดประตูบริเวณแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาท ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า" ให้ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประชุมกันแล้ว. ฝ่ายพระเถระมาถวายบังคมพระศาสดานั่งแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเนื้อความนั้นกะพระเถระนั้นแล้ว. พระเถระไม่กราบทูลทันทีว่า "ภิกษุนี้อันข้าพระองค์ไม่ประหารแล้ว" เมื่อจะกล่าวคุณกถาของตนจึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า สติเป็นไปในกาย อันภิกษุใดไม่พึงเข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย, ภิกษุนั้นกระทบกระทั่งสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในศาสนานี้ ไม่ขอโทษแล้วพึงหลีกไปสู่ที่จาริกแน่" ดังนี้แล้ว ประกาศความที่แห่งตนมีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน เสมอด้วย น้ำ ไฟ ลม ผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล โคอุสภะมีเขาขาด ความอึดอัดด้วยกายของตนเหมือนซากงูเป็นต้น และการบริหาร โดยนัยเป็นต้นว่า "พระเจ้าข้า บุคคลย่อมทิ้งของอันสะอาดบ้าง ย่อมทิ้งของอันไม่สะอาดบ้าง ลงในแผ่นดินแม้ฉันใด" ก็แลเมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนด้วยอุปมา ๙ อย่างนี้อยู่, แผ่นดินใหญ่ไหวจนที่สุดน้ำ ในวาระทั้ง ๙ แล้ว. ก็ในเวลานำอุปมาด้วยผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล และภาชนะมันข้นมา ภิกษุผู้ปุถุชนไม่อาจเพื่ออดกลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชเกิดแก่ภิกษุผู้ขีณาสพทั้งหลายแล้ว. เมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนอยู่นั่นแล, ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในสรีระทั้งสิ้นของภิกษุผู้กล่าวตู่แล้ว. ทันใดนั้นแล ภิกษุนั้นหมอบลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศโทษในเพราะความกล่าวตู่ ด้วยคำอันไม่จริงแสดงโทษล่วงเกินแล้ว. จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความที่พระเถระมีคุณไม่ต่ำทราม, พระเถระไม่กระทำความโกรธ หรือความประทุษร้าย แม้มีประมาณน้อย ในเบื้องบนของภิกษุผู้กล่าวตู่ด้วยมุสาวาทชื่อเห็นปานนี้ ตัวเองเทียวนั่งกระโหย่ งประคองอัญชลี ให้ภิกษุนั้นอดโทษ." พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษร้าย เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้, ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตรเช่นกับด้วยแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับห้วงน้ำใส" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอาดมีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลงในแผ่นดิน. อนึ่ง เด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อมสักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ในเพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดินหรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ๘, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม, ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชนทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า "ชนเหล่านี้ย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย ๔, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ " โดยที่แท้ ภิกษุผู้ขีณาสพนั้นย่อมเป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดิน และเป็นผู้เปรียบด้วยเสาเขื่อนนั่นเอง. ก็ห้วงน้ำที่มีเปือกตมไปปราศแล้ว เป็นห้วงน้ำใสฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีเปือกตมไปปราศแล้ว ด้วยเปือกตมทั้งหลายมีเปือกตม คือราคะเป็นต้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสไปปราศแล้ว ย่อมเป็นผู้ผ่องใสเทียว ฉันนั้น. บทว่า ตาทิโน ความว่า ก็ชื่อว่าสงสารทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการท่องเที่ยวไปในสุคติและทุคติทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล. เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ. ----------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗ |