![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ๑. เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง [๘๑] ข้อความเบื้องต้น เพชฌฆาตเคราแดง ภายหลังวันหนึ่ง พวกชาวเมืองร่วมกันกับพวกราชบุรุษจับโจรเหล่านั้นได้ จึงนำไปสู่สำนักของพวก พวกชาวเมืองถามนายตัมพ นาย เพชฌฆาตออกจากตำแหน่งเวลาแก่ นายตัมพทาฐิกะนั้นรับว่า "ดีละ" แล้วฆ่าโจรเหล่านั้น ได้ความนับถือแล้ว. ครั้งนั้น ชาวเมืองเหล่านั้นปรึกษากันว่า "บุรุษคนนี้ดี, พวกเราจักทำเขาให้เป็นคนฆ่าโจรประจำทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงให้ตำแหน่งนั้นแก่เขา กระทำความนับถือแล้ว. นายตัมพทาฐิกะนั้นฆ่าโจร (คราวละ) ห้าร้อยๆ ซึ่งเขานำมาแต่ทิศปัศจิมบ้าง ทิศอุดรบ้าง. เขาฆ่าโจร (สิ้น) ๒ พันคน ซึ่งนำมาแต่ทิศทั้ง ๔ ด้วยอุบายอย่างนั้น. จำเดิมแต่นั้น เมื่อฆ่ามนุษย์ที่เขานำมาๆ คือ "คนหนึ่ง สองคน" ทุกวันๆ ได้กระทำโจรฆาตกรรมสิ้น ๕๕ ปี. ในเวลาเป็นคนแก่ เขาไม่อาจจะตัดศีรษะด้วยการฟันทีเดียวได้ ต้องฟัน ๒-๓ ที ทำให้มนุษย์ นายตัมพทาฐิกะนั้นกระทำโจรฆาตกรรมอยู่ในกาลก่อน จึงไม่ได้กิจ ๔ อย่างนี้ คือ "การนุ่งผ้าใหม่ การดื่มยาคูเจือน้ำนมที่ปรุงด้วยเนยใสใหม่ การประดับดอกมะลิ การทาด้วยของหอม." ในวันที่ถูกออกจากตำแหน่ง เขากล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงต้มยาคูเจือน้ำนมแก่เรา" แล้วให้คนถือผ้าใหม่ ระเบียบดอกมะลิและเครื่องทา ไปยัง นายตัมพทาฐิกะกระทำบุญแก่พระสารีบุตร นายตัมพทาฐิกะนั้น พอแลเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า "เรากระทำโจรฆาตกรรมมานาน, เราฆ่ามนุษย์เสียเป็นอันมาก บัดนี้ ในเรือนของเราตกแต่งยาคูเจือน้ำนมไว้, แลพระเถระก็มายืนอยู่ที่ประตูเรือนของเรา, เราถวายไทยธรรมแก่พระผู้เป็นเจ้าเสียในเวลานี้ ก็ควร" ดังนี้แล้ว จึงนำยาคูที่วางไว้ข้างหน้าออกไปแล้ว เข้าไปหาพระเถระ ไหว้แล้วนิมนต์ให้นั่งภายในเรือน เกลี่ยยาคูเจือน้ำนมลงในบาตร ราดเนยใสใหม่แล้ว ได้ยืนพัดพระเถระอยู่. ทีนั้น อัธยาศัยเพื่อดื่มยาคูเจือน้ำนมได้มีกำลัง เพราะเขาไม่เคยได้แล้วสิ้นเวลานาน. พระเถระรู้อัธยาศัยของนายตัมพทาฐิกะนั้น จึงพูดกะเขาว่า "อุบาสก ท่านจงดื่มยาคูของตนเถิด." เขาให้พัดในมือแก่ผู้อื่นแล้วดื่มยาคูเอง. พระเถระพูดกะบุรุษผู้พัดว่า "ท่านจงไป จงพัดอุบาสกเถิด." เขาอันบุรุษนั้นพัดอยู่ ดื่มยาคูเต็มท้องแล้วมายืนพัดพระเถระ ได้รับบาตรของพระเถระ ผู้กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว. พระเถระเริ่มอนุโมทนาแก่เขาแล้ว. เขาไม่อาจกระทำจิตของตนให้ไปตามธรรมเทศนาของพระเถระได้. พระเถระสังเกตได้จึงถามว่า "อุบาสก เหตุไร ท่านจึงไม่อาจทำจิตให้ไปตามธรรมเทศนาได้?" ตัมพทาฐิกะ. "ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทำกรรมหยาบช้ามาสิ้นกาลนาน. มนุษย์เป็นอันมากถูกข้าพเจ้าฆ่าตาย, ข้าพเจ้ามัวระลึกถึงกรรมของตนนั้นอยู่ จึงไม่อาจทำจิตให้ไปตามเทศนาของพระผู้เป็นเจ้าได้." พระเถระคิดว่า "เราจักลวงบุรุษนั้น" จึงพูดว่า "ก็ท่านได้กระทำตามชอบใจตน หรือถูกคนอื่นให้กระทำเล่า?" ตัมพทาฐิกะ. "ท่านผู้เจริญ พระราชาให้ข้าพเจ้าทำ." พระเถระ. "อุบาสก เมื่อเป็นเช่นนั้น อกุศลจะมีแก่ท่านอย่างไรหนอ?" นายตัมพทาฐิกะตายไปเกิดในดุสิตบุรี นางยักษิณีตนหนึ่งมาแล้วด้วยเพศแห่งแม่โคนม ขวิดที่อกอุบาสก ผู้ตามส่งพระเถระหน่อยหนึ่งแล้วกลับอยู่ให้ตายแล้ว. อุบาสกนั้นกระทำกาละแล้วก็บังเกิดในดุสิตบุรี. กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดในดุสิต พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นบังเกิดในดุสิตบุรี." ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "พระเจ้าข้า พระองค์ตรัสอะไร? บุรุษนั้นฆ่ามนุษย์เท่านี้สิ้นเวลาเท่านี้ แล้วบังเกิดในวิมานดุสิต." พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้กัลยาณมิตรผู้ใหญ่ เขาฟังธรรมเทศนาของสารีบุตร ยังอนุโลมญาณให้บังเกิดแล้ว เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว บังเกิดในวิมานดุสิต" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :- บุรุษผู้ฆ่าโจรในเมือง ฟังคำเป็นสุภาษิตแล้ว ได้อนุโลมขันติ ไปสู่เทวโลกชั้นไตรทิพย์ ย่อมบันเทิงใจ. ภิกษุ. "พระเจ้าข้า ธรรมดาอนุโมทนากถามีกำลัง, บุรุษนั้นกระทำอกุศลกรรมไว้มาก, เขายังคุณวิเศษให้บังเกิดด้วยเหตุเท่านั้นอย่างไรได้?" พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าถือประมาณแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วว่า น้อยหรือมาก เพราะว่า แม้วาจาคำเดียวที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ สองบทว่า เอกํ อตฺถปทํ ความว่า ส่วนบุคคลฟังบทใด ที่เป็นประโยชน์แม้บทเดียว เห็นปานนี้ว่า "นี้กาย, นี้สติไปในกาย, วิชชา ๓ เราตามบรรลุแล้ว, คำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย เรากระทำแล้ว." ย่อมสงบระงับ ด้วยการสงบระงับกิเลส มีราคะเป็นต้นได้, บทนั้นสำเร็จประโยชน์ ประกอบด้วยนิพพาน คือแสดงขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสติปัฏฐาน แม้บทเดียว ยังประเสริฐกว่า โดยแท้. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘ |