บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า มกฺขํ ได้แก่ ลบหลู่คุณท่าน. จริงอยู่ ผิว่า คนลบหลู่นั้นเหมือนจับคูถแล้วประหารผู้อื่น กายของตนย่อมเปื้อนก่อนทีเดียว แม้ดังนั้น ท่านก็กล่าวว่า เป็นผู้มักลบหลู่คุณผู้อื่น เพราะการทำเช่นนั้น โดยประสงค์จะลบหลู่คุณของผู้อื่น. เป็นความจริง คนลบหลู่นั้นย่อมลบหลู่ คือล้างคุณของผู้อื่นให้พินาศไปดุจผ้าเช็ดน้ำ เช็ดน้ำที่ติดตัวของผู้อาบน้ำ ฉะนั้น. จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า มกฺโข (ผู้ลบหลู่คุณท่าน) เพราะทำลายกำจัดสักการะอันใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่คนเหล่าอื่น พึงเห็นว่าคนลบหลู่นั้น มีการลบล้างคุณผู้อื่นเป็นลักษณะ มีการทำให้คนทั้งหลายพินาศเป็นกิจรส มีการปกปิดคุณของเขาเป็นอาการปรากฏ. แต่โดยใจความ พึงเห็นว่า คนลบหลู่เป็นผู้มีจิตตุปบาทสหรคตด้วยโทมนัสอันเป็นไปโดยอาการลบ บทว่า ปชหถ อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษมีประเภทดังกล่าวแล้วในมักขะนั้น และโทษมีนัยดังกล่าวแล้วในโทสะ และอานิสงส์ในการละโทษตามที่กล่าวนั้น แล้วละด้วยตทังคะเป็นต้นในส่วนเบื้องต้น ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนา แล้วละไม่ให้มีส่วนเหลือด้วยตติยมรรค. บทว่า มกฺขิตาเส ได้แก่ เป็นผู้ลบล้างคุณของผู้อื่น คือป้ายร้ายความดีของผู้อื่น. อธิบายว่า เป็นผู้ขจัดคุณแม้ของตน จากการที่ลบล้างคุณของผู้อื่นนั้นด้วย. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนี้แล. จบอรรถกถามักขสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ปฐมวรรค มักขสูตร จบ. |