ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 18อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 19อ่านอรรถกถา 25 / 20อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙

หน้าต่างที่ ๒ / ๑๒.

               ๒. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [๙๖]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเสยยสกัตเถระ
               ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.

               พระเถระทำปฐมสังฆาทิเสส               
               ดังได้สดับมา พระเสยยสกัตเถระนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระโลฬุทายีเถระ บอกความไม่ยินดี๑- ของตนแก่พระโลฬุทายีนั้น ถูกท่านชักชวนในการทำปฐมสังฆาทิเสส เมื่อความไม่ยินดีเกิดทวีขึ้น ได้ทำกรรมนั้นแล้ว.
____________________________
๑- อนภิรตี บางแห่งแปลว่า ความกระสัน

               กรรมชั่วให้ทุกข์ในภพทั้งสอง               
               พระศาสดาได้สดับกิริยาของเธอ รับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า "ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ?" เมื่อเธอทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า "แน่ะโมฆบุรุษ เหตุไร เธอจึงได้ทำกรรมหนักอันไม่สมควรเล่า?" ทรงติเตียนโดยประการต่างๆ ทรงบัญญัติสิกขาบทแล้ว ตรัสว่า "ก็กรรมเห็นปานนี้ เป็นกรรมยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อทุกข์อย่างเดียว ทั้งในภพนี้ทั้งในภพหน้า"
               เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๒. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา    น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
                         น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ    ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
                         ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้, ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ
                         ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น. เพราะว่า
                         ความสั่งสมบาปเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

               แก้อรรถ               
               เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
               "ถ้าบุคคลพึงทำกรรมลามกคราวเดียว, ควรพิจารณาในขณะนั้นแหละ สำเหนียกว่า ‘กรรมนี้ไม่สมควร เป็นกรรมหยาบ’ ไม่ควรทำกรรมนั้นบ่อยๆ, พึงบรรเทาเสีย ไม่ควรทำ แม้ซึ่งความพอใจ หรือความชอบใจในบาปกรรมนั้น ซึ่งจะพึงเกิดขึ้นเลย."
               ถามว่า "เพราะเหตุไร ?"
               แก้ว่า "เพราะว่า ความสั่งสม คือความพอกพูนบาป เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือย่อมนำแต่ทุกข์มาให้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า."
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องพระเสยยสกัตเถระ จบ.               
               -------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 18อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 19อ่านอรรถกถา 25 / 20อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=587&Z=617
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=22&A=1
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=22&A=1
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :