บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๘ / ๙. ข้อความเบื้องต้น จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อเนกชาติสํสารํ" เป็นต้น. ทรงกำจัดมารแล้วเปล่งอุทาน ในปฐมยาม ทรงทำลายความมืดที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณ, ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว, ในปัจฉิมยาม ทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงหยั่งพระญาณลงในปัจจยาการแล้ว ทรงพิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมปฏิโลม. ในเวลาอรุณขึ้น ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณพร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง เมื่อจะทรงเปล่งอุทาน ที่พระพุทธเจ้ามิใช่แสนเดียวไม่ทรงละแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
๑- ความเกิด เป็นทุกข์ร่ำไป. ๒- อีกนัยหนึ่ง ผาสุกา เป็นคำเปรียบกับเครื่องเรือน แปลว่า จันทันเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว. แก้อรรถ เมื่อไม่ประสบ ไม่พบ คือไม่ได้พระญาณนั้นแล จึงท่องเที่ยว คือเร่ร่อน ได้แก่วนเวียนไปๆ มาๆ สู่สงสารมีชาติเป็นอเนก คือสู่สังสารวัฏนี้ อันนับได้หลายแสนชาติ สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้. คำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหาช่างผู้ทำเรือน. เพราะชื่อว่าชาตินี้ คือการเข้าถึงบ่อยๆ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะภาวะที่เจือด้วยชราพยาธิและมรณะ, ก็ชาตินั้น เมื่อนายช่างผู้ทำเรือนนั้น อันใครๆ ไม่พบแล้ว ย่อมไม่กลับ, ฉะนั้น เราเมื่อแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน จึงได้ท่องเที่ยวไป. บทว่า ทิฏฺโฐสิ ความว่า บัดนี้ เราตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ พบท่านแล้วแน่นอน. บทว่า ปุน เคหํ ความว่า ท่านจักทำเรือนของเรา กล่าวคืออัตภาพในสังสารวัฏนี้อีกไม่ได้. บาทพระคาถาว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ความว่า ซี่โครง๒- กล่าวคือ กิเลสที่เหลือทั้งหมดของท่าน เราหักเสียแล้ว. บาทพระคาถาว่า คหกูฏํ วิสงฺขตํ ความว่า ถึงมณฑลช่อฟ้า กล่าวคืออวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพที่ท่านสร้างแล้วนี้ เราก็รื้อเสียแล้ว. บาทพระคาถาว่า วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน ด้วยสามารถแห่งอันกระทำให้เป็นอารมณ์. บาทพระคาถาว่า ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ความว่า เราบรรลุพระอรหัต กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว. ____________________________ ๑- บาลีเป็น คหการกํ. ๒- หรือ จันทันเรือน กล่าวคือกิเลสที่เหลือทั้งหมด. เรื่องปฐมโพธิกาล จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑ |